อุดมการณ์ในการเคลื่อนไหวทางการเมืองภายใต้ข้อกำหนดพิเศษ พ.ศ.2557-พ.ศ. 2562 กรณีศึกษาแกนนำกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง

ผู้แต่ง

  • มูฮำหมัดมาฮเดร์ซันชีโร่ อิซุมิ วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

อุดมการณ์, อุดมการณ์ทางการเมือง, แกนนำกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง เรื่องอุดมการณ์ในการเคลื่อนไหวทางการเมืองภายใต้ข้อกำหนดพิเศษ ปี พ.ศ.2557-พ.ศ. 2562   กรณีศึกษาแกนนำกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง 
มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาอุดมการณ์ของแกนนำ ìกลุ่มคนอยากเลือกตั้งî 2) ศึกษาปัจจัยที่นำไปสู่อุดมการณ์ ของแกนนำ ìกลุ่มคนอยากเลือกตั้งî โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เจาะลึก แกนนำของขบวนการการเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง จำนวน 3 คน

  ผลการวิจัยพบว่า  1) อุดมการณ์ทางการเมืองแกนนำกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง ที่เข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง มีอุดมการณ์ทางการเมืองเดียวกัน มีเป้าหมายและวัตถุประสงค์เดียวกัน คือความยุติธรรมและเรื่องประชาธิปไตย ด้านสิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาค ที่ต้องการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยทั้ง 3 คน มีทิศทางทางความคิด และความเชื่อแบบเดียวกัน 2) เงื่อนไขที่นำไปสู่อุดมการณ์ พบว่าเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ตรงในมิติด้านการเมืองเหมือนกัน ประกอบกับสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษา เป็นปัจจัยที่ทำให้อุดมการณ์เข้มข้นขึ้น

References

ฐิติกร สังข์แก้ว สราวุธ ทับทอง และ อรรถสิทธิ์ พานแก้ว. (2557). จุด (ไม่) จบ : ช่วงฉากการเมืองไทย “48 - 59”. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า.

ลิขิต ธีรเวคิน. (2518). การพัฒนาการเมืองไทย. กรุงเทพมหานคร: แพร่วิทยา.

สํานักงานอัยการสูงสุด. (2541). คู่มือประชาธิปไตยสาหรับประชาชน. กรงเทพมหานคร : ชวนพิมพ์.

Robert A Dahl. (1971). Polyarchy & Participation: The Changing Democratic. New Haven: Yale University Press.

Xiaojun (2014) Engineering Stability: Authoritarian Political Control over University Students in Post-Deng China. The China Quarterly,218, 493-513.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-23