การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชาภูมิศาสตร์ โดยใช้ชุดการเรียนรู้ เรื่อง แผนที่ และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนขนาดเล็กในจังหวัดสระบุรี
คำสำคัญ:
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชาภูมิศาสตร์, แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์, โรงเรียนขนาดเล็กบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เปรียบเทียบผลการเรียนรู้ก่อนเรียนและหลังเรียนวิชาภูมิศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนขนาดเล็กในจังหวัดสระบุรี โดยใช้ชุดการเรียนรู้ เรื่อง แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ และ 2) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนขนาดเล็กในจังหวัดสระบุรี ที่มีต่อการสอนวิชาภูมิศาสตร์โดยใช้ชุดการเรียนรู้ เรื่อง แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง แบบกลุ่มเดี่ยวก่อนสอบและหลังสอบ (One Group Pretest- Posttest Design) โดยมีนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวน 103 คน จากโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กจำนวน 5 โรงเรียนในจังหวัดสระบุรี
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ใช้ชุดการเรียนรู้ เรื่อง แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ ประกอบด้วยกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง แผนที่และการอ่านแผนที่ เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ และระบบสาระสนเทศทางภูมิศาสตร์ ได้ผลการเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และ 2) ระดับความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยชุดการเรียนรู้ เรื่อง แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ ทั้ง 5 ด้าน คือ จุดประสงค์การเรียนรู้ เนื้อหาการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ และประโยชน์ของชุดการเรียนรู้ มีคะแนนเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก
References
กนก จันทร์ทอง. (2560). การสอนสังคมศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 28(2), 227-241
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ชรินทร์ มั่งคั่ง. (2561). องค์ความรู้หลักสูตรและการสอนสังคมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชาญชัย ศุภอรรถกร และไชยเชษฐา ยังมีสุข. (2561). การพัฒนาหนังสือเครื่องดนตรีไทยพื้นบ้านสามมิติด้วยเทคโนโลยีออกเมนเต็ดเรียลลิตี บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์. วารสารวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 20(2), 206-215.
ณัฎฐา ศรีรอด และ กรวิภา สรรพกิจจำนง. (2564). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เวลา ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้บทเรียนสื่อประสม ชุด เวลาพาเพลิน. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย. 5(2), 363-374.
ถิรวุฒิ สารขวัญ และ วัตสาตรี ดิถียนต์. (2562). การพัฒนาการเรียนการสอนด้วยวิธีการเรียนรู้แบบการค้นพบโดยใช้โปรแกรม กูเกิลเอิร์ธในวิชาภูมิศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ. 10(1), 122-130.
พระธรรมปิฏก (ป.อ. ปยุตฺโต), พระไพศาล วิสาโล, ชนิดา จรรยาเพศ แบมฟอร์ด, ประเวศ วะสี, วิชิตวงศ์ ณ ป้อมเพชร, วิทยากร เชียงกูล, สุเมธ ตันติเวชกุล และ โสภณ สุภาพงษ์. (2552). วิถีชุมชน : หนังสือ สุ จิ ปุ ลิ 5. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒประสานมิตร.
อุบลรัตน์ ศิริสุขโภคา และไพศาล สิมาเลาเต่า. (2559). การเพิ่มผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้วยสื่อประกอบการสอนที่ประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นบนแผนที่ภูมิศาสตร์ และนำเสนอเนื้อหาผ่านสื่อโลกเสมือนผสมโลกจริง. วารสารวิจัยสหวิทยาการไทย. 11(3), 24-31.