แนวทางการมีส่วนร่วมของพระบัณฑิตอาสาพัฒนาชาวเขากับการจัดสวัสดิการสังคม ของชุมชนบนพื้นที่สูง

The approach of the participation of the Graduated Buddhist volunteer Monks for hill tribe Development and the social welfare of the community on the high ground.

ผู้แต่ง

  • ประเสริฐ ปอนถิ่น มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • พระครูสาทรธรรมสิทธิ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • พระครูสิริบรมธาตุพิทักษ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • สังวรณ์ สมบัติใหม่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • ปุระวิชญ์ วันตา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การจัดสวัสดิการ, การมีส่วนร่วมของชุมชน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัญหาด้านการจัดสวัสดิการชุมชนบนพื้นที่สูง 2) เพื่อศึกษาบทบาทพระบัณฑิตอาสาพัฒนาชาวเขาในการมีส่วนร่วมการจัดการสวัสดิการชุมชนบนพื้นที่สูง 3) เพื่อเป็นข้อเสนอแนะแนวทางในการมีส่วนร่วมการจัดสวัสดิการชุมชนบนพื้นที่สูงของพระบัณฑิตอาสา วิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูล คือ พระบัณฑิตอาสา ผู้ใหญ่บ้านผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านคณะกรรมการชุมชนและตัวแทนชุมชน

ผลวิจัยพบว่า 1) ปัญหาด้านการจัดสวัสดิการชุมชนบนพื้นที่สูงชุมชนมีปัญหา คือ ที่ดินอยู่ในพื้นที่เขตป่าสงวน การทำลายทรัพยากรธรรมชาติ การขนส่ง การใช้น้ำ หนี้สิน และยังขาดการรวมตัวกันเป็นกลุ่ม สวัสดิการผู้สูงอายุการเผ่าป่า การจัดการขยะในชุมชน ด้านสุขภาพ ขาดคนริเริ่มในการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ชุมชน 2) บทบาทพระบัณฑิตอาสาในการมีส่วนร่วมการจัดการสวัสดิการชุมชนบนพื้นที่สูง พบว่า พระบัณฑิตอาสามีบทบาท คือ ด้านการเผยแผ่ สอนศีลธรรม เพิ่มเครือข่าย บรรพชาอุปสมบท ทำพิธีกรรม และให้ความรู้ด้านสุขภาพขั้นพื้นฐาน ส่งเสริมกิจกรรมการกีฬา และให้ความรู้ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สร้างจิตสำนึกให้ชุมชนตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญภูมิปัญญาท้องถิ่น การจัดตั้งธนาคารข้าว และส่งเสริมเยาวชนศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา 3) ข้อเสนอแนะแนวทางในการมีส่วนร่วมการจัดสวัสดิการชุมชนบนพื้นที่สูงของพระบัณฑิตอาสา พบว่า พระบัณฑิตอาสาควรจะมีบทบาท คือ เผยแผ่พุทธธรรม อบรมตนเองเกี่ยวกับความรู้เบื้องต้นในการปฐมพยาบาล ประสานงานกับหน่วยงานในชุมชน ตรวจสุขภาพชุมชน  ประสานงานมาอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการกำจัดขยะในชุมชน การทำปุ๋ยอินทรีย์จากขยะควรเป็นผู้ริเริ่มให้ใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ ส่งเสริมชุมชนให้มีการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีที่ดีงาม และควรเป็นผู้ริเริ่มความคิดในการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ชุมชน

References

จิระศักดิ์ ศักดิ์พิสิษฎ์. (2528). ความคิดเห็นของพระสงฆ์และครูเกี่ยวกับการสนับสนุนการศึกษาที่วัดให้แก่

โรงเรียนประถมศึกษาที่ตั้งอยู่ในวัด เขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชัยพร พิบูลศิริ. (2549). การค้ามนุษย์: ผลประโยชนทางธุรกิจ.กรุงเทพมหานคร: สถาบันพัฒนบริหารศาสตร์.

ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ. (2546). บทสังเคราะห์ภาพรวมการพัฒนาระบบสวัสดิการสำหรับคนจน และคนด้อยโอกาสในสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นภาพร อัศวะรังสีกุล. (2562). ปัญหาของกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย: อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลง. งานประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยรังสิตประจำปี 2562. (26 เมษายน 2562).

พระมหานันทวิทย์ ธีรภทฺโท (แก้วบุตรดี),และคณะ. (2561). การเสริมสร้างจริยธรรมสำหรับผู้ต้องขังในเขต.รายงานวิจัย. สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาโยธิน โยธิโก. (2560). บทบาทพระสงฆ์ไทยในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์. 17( 3), 1.

พระมหาสุระพงษ์ สุรวํโส (สีหมอก). (2555). ภาวะผู้นำของพระสงฆ์ในการบริหารการพัฒนาชุมชน: กรณีศึกษาพระครูโพธิวีรคุณ วัดโพธิการาม ตำบลโพนสูง อำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด. รายงานวิจัย. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

พระสุภาพ สุภาโว (บัวบรรจง). (2561). บทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนในเขตพื้นที่ตำบลยางค้อม

อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 5(3), 654.

ศรพล ตุลยะเสถียรและคณะ. (2558). การพัฒนาแบบจำลองจุลภาคเพื่อศึกษาบทบาทของหนี้ครัวเรือนที่มีต่อความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้ในไทย, กรุงเทพมหานคร : สำนักงานเศรษฐกิจการคลังกระทรวงการคลัง.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-30