An Analytical Study of the Budd ศึกษาวิเคราะห์พุทธจริยศาสตร์ในวรรณกรรมไทขึน เรื่อง สุชวัณณะ

ผู้แต่ง

  • พระมหาวิริยะ วราสโย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • วิโรจน์ วิชัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • สมหวัง แก้วสุฟอง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้  มีวัตถุประสงค์ 3ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาความเป็นมาเนื้อหาของวรรณกรรมไทขึน เรื่อง สุชวัณณะ 2) เพื่อศึกษาพุทธจริยศาสตร์ที่ปรากฏในวรรณกรรมไทขึนเรื่อง สุชะวัณณะ 3) เพื่อวิเคราะห์พุทธจริยศาสตร์ในวรรณกรรมไทขึนเรื่อง สุชวัณณะ

ผลการศึกษาพบว่า วรรณกรรมเรื่องนี้ เป็นการแต่งขึ้นโดยชาวไทขึน ในเมืองเชียงตุง รัฐฉาน ประเทศเมียนมาร์ รูปแบบและเรื่องของวรรณกรรมเป็นการพรรณนาการดำเนินชีวิตที่เรียบง่ายของประชาชนในเมืองเชียงตุงที่มีความอ่อนน้อมถ่อมตน ดำเนินชีวิตสอดคล้องกับประเพณีดั้งเดิมเป็นแบบอย่างที่ดี การใช้ชีวิตด้วยความสามารถของตนและการวางตัวอย่างเหมาะสม วรรณกรรมเรื่องนี้มีการคัดลอกสืบต่อกันมาตามลำดับ ถือว่าเป็นวรรณกรรมที่มานอกนิบาต ฉบับที่นำมาศึกษามีอายุประมาณ 100 ปี โดยมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับพุทธจริยธรรม ดังนี้ แบ่งเป็น 3 1) ศีล เป็นพื้นฐานการปฏิบัติของมนุษย์ 2) กุศลกรรม 10 คือ กรรมดีอันเป็นทางนำไปสู่ความสุขความเจริญหรือสุคติ 3) อริยมรรคมีองค์ 8 คือหนทางปฏิบัติเพื่อให้พ้นจากทุกข์

พุทธจริยธรรมที่ปรากฏในวรรณกรรมสามารถนำไปปฏิบัติในวิถีชีวิตเพื่อขัดเกลาความประพฤติของคนให้ดีขึ้นได้ กล่าวคือทำให้คนดำเนินชีวิตตามหลักศีลธรรม นอกจากนี้ยังมีความเชื่อที่เน้นย้ำในเรื่องการปฏิบัติที่สามารถพัฒนาตนเองให้เจริญขึ้นตามลำดับ จุดหมายสูงสุดของวรรณกรรมเรื่องนี้ คือ การปฏิบัติให้พ้นทุกข์ ทำให้สังคมมีความสงบ นอกจากนี้ประเพณีการตั้งธรรมสุชวัณณะยังเป็นการสืบทอดทางวัฒนธรรมอีกด้วยด้วยจุดหมายสูงสุดคือการพัฒนาตนตามหลักพุทธจริยศาสตร์เพื่อให้เข้าถึงพระนิพพานต่อไป

References

สุชวัณณะวัวหลวง. (2536). ปริวรรตโดย อนาโตล โรเจอร์ เป็ลติยร์ และพระอธิการอานนท์ อาทิตฺตธมฺโม. เชียงใหม่: โรงพิมพ์มิ่งเมือง.

สรรเสริญ อินทรัตน์. (2552). จริยศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต.

อนาโตล โรเจอร์ เป็ลติยร์. (2536). สุชวัณณะวัวหลวง. เชียงใหม่: โรงพิมพ์ มิ่งเมือง.

คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2552). วัฒนธรรมไทย. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด วารสาร์นการพิมพ์.

สุพิน ฤทธิ์เพ็ญ. (2548). เขมรัฐนครเชียงตุง. พิมพ์ครั้งที่ 2. เชียงใหม่. โรงพิมพ์ดาวคอมพิวกราฟิก.

ศูนย์วัฒนธรรมวัดท่ากระดาษ. (2548). นิทานศีลห้า. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง.

นางสาวสุภาสิณี ค้มไพรี. (2557). การสืบทอดวรรณคดีและนิทานในวรรณกรรมเยาวชนไทยช่วงปีพ.ศ. 2545– 2554. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เสาวคนธ์ สุขรักษ์. (2558). พัฒนาการวรรณกรรมของวิมล ไทรนิ่มนวล ระหว่างปีพุทธศกัราช 2518-2538 . วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พระมหาสมหวัง สิทฺธตฺโถ. (2554). ศึกษาวิเคราะห์พุทธธรรมที่ปรากฏในคัมภีร์ธรรมนิพพานสูตรในวรรณกรรมล้านนา. วิทยานินพธ์ พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-30