วิเคราะห์จริยศาสตร์ในกระบวนการทำสำนวนสอบสวนของพนักงานสอบสวนในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

ผู้แต่ง

  • อาจ เมธารักษ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • พระวิสิทธิ์ ฐิตวิสิทโธ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • วิโรจน์ วิชัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่

คำสำคัญ:

จริยศาสตร์, การทำสำนวนสอบสวน, พนักงานสอบสวนในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษากระบวนการเขียนสำนวนสอบสวนของพนักงานสอบสวน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 2) เพื่อศึกษาหลักจริยศาสตร์ที่เกี่ยวกับการเขียนสำนวนการสอบสวนของพนักงานสอบสวน 3) เพื่อวิเคราะห์หลักจริยศาสตร์ในกระบวนการเขียนสำนวนสอบสวนของพนักงานสอบสวน  เป็นงานวิจัยแบบคุณภาพ ศึกษารวบรวมข้อมูลการเขียนสำนวนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติและคำพิพากษาของศาลฎีกาที่ตัดสินลงโทษ 

ผลการวิจัยพบว่า 1) ขั้นตอนสำคัญในกระบวนการยุติธรรมขั้นต้น พนักงานสอบสวนมีหน้าที่รวบรวมพยานหลักฐานทุกชนิดเท่าที่จะทำได้ 2) หลักจริยศาสตร์ที่เกี่ยวกับกระบวนการสอบสวนของพนักงานสอบสวน มี  2 หลักการ ได้แก่ (ก) จริยศาสตร์แนวหน้าที่ของค้านท์ คือ การกระทำที่เกิดจากเจตนาดี เกิดจากการสำนึกในหน้าที่ เกิดจากเหตุผล ตั้งอยู่บนเหตุผล อันได้แก่ กฎศีลธรรมและ (ข) หลักจริยศาสตร์แนวประโยชน์นิยม ของจอห์น สจ๊วต มิลล์ ได้แก่ กระทำเพื่อประโยชน์สุขของคนส่วนรวมมุ่งพิจารณาถึงผลที่เกิดจากการกระทำ 3) จริยศาสตร์ของ จอห์น รอลส์ ว่าด้วยทฤษฏีความยุติในกระบวนการทำสำนวนสอบสวน พบว่า พนักงานสอบสวน ควรเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ เป็นมืออาชีพ  มีอิสระปฏิบัติหน้าที่ ในระดับที่เหมาะสม พ้นจากการแทรกแซงและเป็นผู้ที่ทรงไว้ซึ่งคุณธรรมและจรรยาบรรณ 

การที่พนักงานสอบสวนสามารถปฏิบัติภารกิจที่กฎหมายให้อำนาจไว้ได้สําเร็จลงอย่างมีประสิทธิภาพ เอื้อประโยชน์สุขแก่สังคม ถือว่าปฏิบัติตามหลัก ตามหลักจริยศาสตร์หน้าที่ของค้านท์ หลักประโยชน์นิยมของมิลล์ และ หลักความยุติธรรม ของรอลส์ ถือว่าเป็นพัฒนาระบบงานสอบสวนที่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่สังคมประเทศชาติ

References

กองบัญชาการศึกษาสำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (2555). คู่มือตำรวจ เล่มที่ 1 หลักสูตนักเรียนนายสิบตำรวจ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ตำรวจ.

กู้เกียรติ เจริญบุญ. (2551). ปัญหาและข้อบ่งพร่องของตำรวจ. นครปฐม : บริษัท 21 เซนจูรี่.

ชัยเกษม นิติสิริ. (2554). ประมวลกฎหมายหมายวิธีพิจารณาความอาญา ภาค 2 สอบสวน. พิมพ์ครั้งที่ 3.กรุงเทพมหานคร : สำนักศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตสภา.

ชัยวัฒน์ อัตพัฒน์. (2548). จริยศาสตร์. กรุงเทพมหานค : สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัย รามคําแหง.

เนื่องน้อย บุณยเนตร. (2539). จริยศาสตร์ตะวันตก : ค้านท์มิลล์ฮอบส์รอลส์ซาร์ทร์. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญมีแท่นแก้ว. (2529). ปรัชญาเบื้องต้น. (กรุงเทพมหานคร : โอ.เอส.พรี้นติ้งเฮ้าส์.

ประนอม วงศ์มา. (2553) .ปัญหากฎหมายด้านกระบวนการยุติธรรมทางอาญาในการใช้อำนาจและหน้าที่พนักงานสอบสวน. วารสารนิติศาสตร์. 53 (3), 11-14.

พระราชวรมุนี (ประยูร ธมมจิตโต). (2540). ปรัชญากรีก บ่อเกิดภูมิปัญญาตะวันตก. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพ์สยาม บริษัทเคล็ดไทย จํากัด.

ศิพร โกวิท. (2550). ความเป็นภาวะวิสัยของการสอบสวน. นิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์.มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

สมใจ เกษรศิริเจริญ. (2541). บทบาทของอัยการในกระบวนการยุติธรร. วารสารอัยการ. 21 (246), 40.

สุรพศ ทวีศักดิ์, (2562). มนุษย์กับเสรีภาพ: มุมมองทางปรัชญาคานท์. มิลล์ รอลส์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์สยามปริทัศน์.

สุรศักดิ์ ลิขสิทธิ์วัฒนกุล. (2496). ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ฉบับอ้างอิง. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 18 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ อาญา (ฉบับที่ 5) มาตรา 4.

John Stuart Mill. (1951). Utilitarianism. New York : E.P.Duttum and Company Inc..

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-30