อภิธัมมาสำนวนล้านนา : การปริวรรต ตรวจชำระและการศึกษาวิเคราะห์

ผู้แต่ง

  • พระมหาจักรพันธ์ สุรเตโช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • วิโรจน์ อินทนนท์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การปริวรรต, ตรวจชำระ, อภิธัมมาสำนวนล้านนา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อปริวรรตและตรวจชำระคัมภีร์อภิธัมมาสำนวนล้านนา 2) เพื่อเรียบเรียงคัมภีร์อภิธัมมาสำนวนล้านนาให้เป็นภาษาไทย 3) เพื่อวิเคราะห์คัมภีร์อภิธัมมาสำนวนล้านนา  ในการวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ประกอบด้วยการศึกษาภาคเอกสาร (Documentary Research)

ผลการวิจัยพบว่า 1) คัมภีร์อภิธัมมาสำนวนล้านนา จาจึกโดยคันธิยารัสสะภิกขุ วัดสูงเม่น เมื่อจุลศักราช 1228 มีจำนวน 7 ผูก 403 หน้าลาน เป็นวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาที่สำคัญยิ่งอีกฉบับหนึ่งของล้านนา ที่มีอายุถึง 154 ปี เขียนเพื่ออธิบายคัมภีร์อภิธรรม 7 คัมภีร์ มีวิธีการเขียนเป็นทั้งแบบนิสสัยและโวหาร แบบนิสสัยมีการยกคำที่เป็นบาลีมาเป็นตัวแม่บท แล้วจึงแปลความหมายเป็นสำนวนโวหาร บางแห่งมีการอธิบายความเพิ่มเติมโดยยกบาลีมาเพียงบทเดียว การปริวรรต ได้ทำการปริวรรตตามตัวอักษรล้านนาที่ปรากฏ การชำระได้ชำระภาษาบาลีที่มีการเขียนผิดให้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ปัจจุบัน 2) การเรียบเรียงคัมภีร์อภิธัมมาสำนวนล้านนาที่ผ่านการตรวจชำระให้เป็นภาษาไทยปัจจุบัน ผู้วิจัยได้ทำการถอดความแปลความหมายของคำที่เป็นภาษาล้านนาให้เป็นภาษาไทยเพื่อให้ผู้ศึกษาหรืออ่านเข้าใจมากยิ่งขึ้น 3) คัมภีร์นี้ได้วางโครงสร้างหลักเหมือนกับอภิธรรมปิฏก ทั้งการจัดเนื้อหาไปตามลำดับอภิธรรม 7 คัมภีร์ ขยายความตามกรอบอรรถกถา ฎีกาและอนุฎีกา แต่ข้อแตกต่างอยู่การอธิบายสภาวธรรมเป็นภาษาล้านนา เนื้อหาหลักธรรมในคัมภีร์อภิธัมมาสำนวนล้านนา แบ่งออกเป็น 7 หมวด กล่าวถึงปรมัตถธรรม 4 คือ จิต เจตสิก รูป และนิพพาน ซึ่งจำแนกจิตออกโดย ประเภทต่างๆ เช่น กุศล อกุศล ภูมิ เหตุ เพื่อให้กุลบุตรสามารถเรียนรู้พระอภิธรรมปิฎกได้ง่ายขึ้น

 

References

ขุนสรรพกิจโกศล (โกวิท ปัทมะสุนทร). (2542). คู่มือการศึกษาพระอภิธรรม ปริจเฉทที่ 1. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์วิญญาณ.

คัมภีร์อภิธัมมาสำนวนล้านนา 7 ผูกลาน พระคันธิยารัสสะภิกขุ ฉบับวัดสูงเม่น จังหวัดแพร่.

พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาดาวสยาม วชิรปญฺโ. (2549). ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในอินเดีย. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์จำลองศิลป์.

วรรณสิทธิ ไวทยะเสวี. (2556). คู่มือการศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ 5 วิถีวิมุตตสังคหวิภาค. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิแนบมหานีรานนท์.

สุชีพ บุญญานุภาพ. (2535). พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน. กรุงเทพมหานคร : โดยพระบรมราชูปถัมภ์. พิมพ์ครั้งที่ 26.

เสถียร โพธินันทะ. (2513). ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : บรรณาคาร.

อภิธัมมัตถสังคหะ, (2545). และปรมัตถทีปนี. พระภัททันตะธัมมานันทมหาเถระ อัครมหาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์วัดท่ามะโอ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-26