การศึกษาวิเคราะห์งานพุทธศิลป์แบบล้านช้าง ที่ปรากฏในสิมวัดเชียงทอง เมืองหลวงพระบาง สปป.ลาว
คำสำคัญ:
งานพุทธศิลป์, สิมวัดเชียงทองบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1) เพื่อศึกษางานพุทธศิลป์แบบล้านช้าง หลวงพระบาง 2) เพื่อศึกษางานพุทธศิลป์ของสิมวัดเชียงทอง เมืองหลวงพระบาง 3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์งานพุทธศิลป์แบบล้านช้างที่ปรากฏในสิมวัดเชียงทอง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยเอกสารอ้างอิงทางวิชาการ (Document Research) และการเก็บข้อมูลภาคสนาม (Fieldwork Research)
ผลการวิจัยพบว่า 1) การเข้ามาของงานพุทธศิลป์แบบล้านช้าง เริ่มต้นจากการเข้ามามีบทบาทของพระพุทธศาสนา ในรัชสมัยพระเจ้าฟ้างุ้มมหาราช ที่ถือเป็นยุครุ่งเรืองของพุทธศาสนา ประมาณปี พ.ศ. 1896 2) โครงสร้างงานพุทธศิลป์ของสิมวัดเชียงทอง จะมีลักษณะเตี้ยตามแบบของสิมหลวงพระบางดั้งเดิม มีหลังคาซ้อนทับกันเป็นสามตับ จุดเด่นอยู่บนหลังคา มีช่อฟ้าทรงปราสาท 17 หลัง และโหง (นาค) ส่วนทางด้านหน้าจั่วประดับด้วยรวงผึ้ง แกะลวดลายดอกไม้เป็นนูนต่ำ ประดับด้วยลวดลายจิตรกรรมฝาผนังที่ใช้เทคนิคแบบพอกคำบนพื้นรักสีดำ รูปแบบการประดับตกแต่งด้วยแก้วโมเสค โดยภาพที่วาดบนหัวเสาเป็นรูปพระพุทธเจ้า 3) งานพุทธศิลป์ของสิมวัดเชียงทอง นอกจากจะมีคุณค่าในเรื่องของบทบาทของความศรัทธา รวมไปถึงการออกแบบพุทธสถาปัตยกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม จากนามธรรมสู่รูปธรรมเพื่อสู่มรรคผลทางพระพุทธศาสนาต่อไป
References
วิทย์ บัณฑิตกุล, ประชาคมอาเชียน สาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว, (กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์สถาพรบุคส์, 2555).
วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์, ชื่นชมสถาปัตย์ วัดในหลวงพระบาง, (กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์เมืองโบราณ, บุนเหลือ อินสีเชียงใหม่ และคณะ, ตำนาน-พงศาวดารเมือง
บุญเฮ็ง บัวสีแสงปะเสีด, ประวัติศาตร์ศิลปะและสถาปัตยกรรมศิลป์ลาว, เล่ม 1, (1991).
หุมพัน รัดตะนะวง และคณะ, มรดกอันล้ำค่าของหลวงพระบาง, (Singapore, 2543).