ความสัมพันธ์ระหว่างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความอ่อนตัว และความเสี่ยงหกล้มของผู้สูงอายุในตำบลหนองตอง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • อุมาพร นิ่มตระกูล
  • พิมพาภรณ์ พรหมใจ ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่
  • สิริภา ภาคนะภา ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่

คำสำคัญ:

ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ, ความอ่อนตัว, ความเสี่ยงหกล้ม, สูงอายุ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความอ่อนตัว  และความเสี่ยงหกล้มของผู้สูงอายุที่อาศัยในตำบลหนองตอง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ วิจัยครั้งนี้เป็นรูปแบบการวิจัยแบบภาคตัดขวาง (Cross-Sectional Study) กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุจำนวน 302 คน ทำการทดสอบความเสี่ยงหกล้มด้วยวิธี Time Up and Go ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อด้วยวิธีการยืน-นั่งบนเก้าอี้ 30 วินาที และทดสอบการอ่อนตัวด้วยการนั่งเก้าอี้ยื่นแขนแตะปลายเท้า วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติ Chi-square และ Multiple linear regression

ผลการวิจัยพบว่าความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และความอ่อนตัว มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงหกล้มของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 โดยตัวที่ทำนายได้ดีที่สุดคือ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อสามารถทำนายความเสี่ยงหกล้มได้ร้อยละ 34.2 (R2= .342, SE=2.29)

References

กรมอนามัย. (2562). คู่มือแนวทางการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ภายใต้แนวคิด
“สุขเพียงพอ ชะลอชรา ชีวายืนยาว” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 – 2565.กรุงเทพฯ : บริษัท
อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).

กระทรวงสาธารณสุข.(2563). HDC V4.0. การคัดกรองผู้สูงอายุ 10 เรื่อง. [อินเทอร์เน็ต].2563 (7 ตุลาคม 2563).
เข้าถึงได้จาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index.php.

ดาราวรรณ รองเมือง, ฉันทนา นาคฉัตรีย์, จีราพร ทองดี และจิตติยา สมบัติบูรณ์. (2559).
อุบัติการณ์ของการหกล้ม และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการหกล้มในผู้สูงอายุที่อาศัยในชุมชน
จังหวัดสุราษฏร์ธานี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี ปีที่ 27 (1),132.

นิพา ศรีช้าง, ลวิตรา ก๋าวี.(2559).รายงานการพยากรณ์การพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้น
ไป) ในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2560-2564. นนทบุรี: สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค
กระทรวงสาธารณสุข.

ธีระศักดิ์ อาภาวัฒนาสกุล. (2552). หลักวิทยาศาสตร์ในการฝึกกีฬา. วิทยาศาสตร์การกีฬา.
กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.(2557). รายงานการสำรวจสุขภาพประชากรไทยโดยการตรวจร่างกาย
ครั้งที่ 5 พ.ศ.2557.

สุทธิชัย จิตะพันธ์กุล. (2544). หลักสำคัญของเวชศาตร์ผู้สูงอายุ. พิมพ์ครั้งที่ .กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อาพัทธ์ เตียวตระกูล และอาทิตยา วังวนสินธุ์. (2562). การพัฒนาสมรรถภาพทางกายเพื่อช่วยใน
การทรงตัวและป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ.วารสารวิชาการ สถาบันการพลศึกษา;11(1):89.

Dhargave, P., &, Sendhilkumar, (2016).R. Prevalence of risk factors for falls among
elderly people living in long-term care homes. Journal of Clinical Gerontology
& Geriatrics, 1 (7): 99-103.

Fuller, G.F. Fall in the elderly. (2000). American Family Physician, 61(7), 2159-2168,
2173-2174.

Li, F., Harmer, P., & Fitzgerald, K.(2016).Implementing an evidence-based fall prevention
intervention in community senior centers. AJPH, 106(11) : 2026-2031.

Office of National Health Examination Survey, Department of Health. (2016).
Recommendations and guidelinesfor physical activityfor all agegroups. (Online).
Retrieved January 23, 2018, from http://203.157.65.18/doh_info/web/uploads/
pdf_1283/GYHKvHvACQmPpH6WNXhWpnIvvq0UsZXmSq8tjs4JQJviLL78orV2z9s3
cHczjaLeN82oMoQQd8Zrne8r910U4p0npBeKRtXZ2GB.pdf.

Ping, Y. & Xiaohua, W. (2012). Risk factors for accidental falls in the elderly and
intervention strategy. Journal of Medical Colleges of PLA 27:299-305.

TCIJ.(2563). ทำความจริงให้ปรากฏ. ผู้สูงอายุ “พลัดตก-หกล้ม”เข้ารักษาฉุกเฉิน 140 คน/วัน
เสียชีวิต 3 คน/วัน.[อินเทอร์เน็ต]. .(19 ตุลาคม 2563). เข้าถึงได้จาก
https://www.tcijthai.com/news/2019/12/scoop/9641

Wagner RM, Marisete PS, Martin B, Juacelino CB, Leonardo RD, Romulo Maia CF, Ana
Clara br, de Oliveira RJ. (2015). Effects of short term elastic resistance on muscle
mass and strength in untrained older adults: a randomized clinical trial. BMC
Geriatr;15: 99.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-24