การสร้างศรัทธาชาวพุทธผ่านคำสอนในคัมภีร์ธรรมล้านนา
คำสำคัญ:
ศรัทธาชาวพุทธ, คำสอน, คัมภีร์ธรรมล้านนาบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยเรื่อง การสร้างศรัทธาชาวพุทธผ่านคำสอนในคัมภีร์ธรรมล้านนา มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาศรัทธาในพระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาประวัติและพัฒนาการของคัมภีร์ธรรมในล้านนา 3) เพื่อวิเคราะห์การสร้างศรัทธาชาวพุทธผ่านคำสอนในคัมภีร์ธรรมล้านนา การศึกษาวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์กับกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ผลการศึกษาวิจัย พบว่า 1) ความเชื่อความศรัทธาในพระพุทธศาสนาแบบเถรวาทนั้น เป็นความเชื่อที่ประกอบด้วยปัญญาด้วยเหตุและผล ความมุ่งหมายของศรัทธาในแบบเถรวาท คือ มุ่งพัฒนาคนไปสู่เป้าหมายของการดับทุกข์โดยสิ้นเชิงอันเป็นปัจจัตตัง มุ่งเน้นการสำเร็จเฉพาะตน 2) คัมภีร์ที่สำคัญทางพระพุทธศาสนาสมัยอาณาจักรล้านนา ได้รับอิทธิพลจากศูนย์กลางทางพระพุทธศาสนาของของโลกโบราณ คือ อินเดีย ศรีลังกา พุกาม และสุโขทัย 3) มีพัฒนาการมากขึ้นโดยพระเถระและปราชญ์ของล้านนาในยุคทองทางพระพุทธศาสนาช่วงพุทธศตวรรษที่ 19 – 20 วิธีการสร้างศรัทธาผ่านคำสอนในคัมภีร์ธรรมล้านนาจะใช้หลักของแนวคิดในทางพระพุทธศาสนาอันเป็นรากฐานของสังคมล้านนาแบบจารีตมาอย่างยาวนาน กล่าวถึงเรื่องราวตั้งแต่ครั้งพุทธกาล ใช้หลักธรรมของพระพุทธศาสนามาช่วยเสริมสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทางสังคมและการเมือง
References
นพคุณ ตันติกุล. (2548). อักษรธรรมสัมพันธ์. เชียงใหม่ : ล้านนาคอมพิวเตอร์พริ้นติ้ง.
บำเพ็ญ ระวิน. (2539). “วินัยดอกเดื่อ : คัมภีร์พระวินัยที่ถือว่าอักขระเป็นพื้นฐานของพุทธธรรม”. บทความใน Proceedings of the 6 th International Conference on Thai Studies Theme VI Chiang Mai, Thailand, (14 - 17 ตุลาคม).
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์ (ชำระ - เพิ่มเติม ช่วงที่ 1). พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มณี พยอมยงค์. (2543). ประเพณีสิบสองเดือนล้านนาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 4. เชียงใหม่ : ส.ทรัพย์การพิมพ์.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร :โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มูลนิธิภูมิพโลภิกขุ. (2523). สทฺทนีติปกรณ์ ธาตุมาลา ฉบับมูลนิธิภูมิพโลภิกขุ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพมูลนิธิภูมิพโล.
ลิขิต ลิขิตานนท์. (2540). วรรณกรรมพุทธศาสนาในล้านนา : “วรรณกรรมพุทธในล้านนาประเภทปกรณพิเศษอุดม”. เชียงใหม่ : สถาบันวิจัยสังคมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.