ศึกษาวิเคราะห์คุณภาพชีวิตของครูสมาธิสถาบันพลังจิตตานุภาพ จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • สุภัคชญา บุญเฉลียว มจร.
  • สมหวัง แก้วสุฟอง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิต, ครูสมาธิ, สถาบันพลังจิตตานุภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษากำเนิดและพัฒนาการของสถาบันพลังจิตตานุภาพ 2) เพื่อศึกษากระบวนการฝึกอบรมหลักสูตรครูสมาธิของสถาบันพลังจิตตานุภาพ 3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์คุณภาพชีวิตของครูสมาธิสถาบันพลังจิตตานุภาพในเชียงใหม่ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 12 คน

ผลการศึกษาพบว่า 1) สถาบันพลังจิตตานุภาพ เป็นศูนย์ฝึกอบรมวิชาสมาธิ ก่อตั้งโดยพระพรหมมงคลญาณ วิ. (วิริยังค์ สิรินฺธโร) เปิดสอนเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พุทธศักราช 2540 เป็นรุ่นแรก ปัจจุบันในประเทศไทยมี 269 สาขา ต่างประเทศมี 11 สาขา 2) กระบวนการฝึกอบรมหลักสูตรครูสมาธิของสถาบันพลังจิตตานุภาพ ใช้ระยะเวลาในการเรียน 6 เดือน โดยเรียนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ คือเดินจงกรมและนั่งสมาธิ เกณฑ์การวัดผลมีการสอบสัมภาษณ์ สอบข้อเขียนและสอบปฏิบัติ สอบภาคสนามที่ดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ 3 คืน 4 วัน จึงจบหลักสูตรครูสมาธิ 3) จากการวิเคราะห์คุณภาพชีวิตของครูสมาธิสถาบันพลังจิตตานุภาพจังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ผลคุณภาพชีวิตด้านกาย ครูสมาธิสามารถปรับพฤติกรรมการกิน การนอน การออกกำลังกายและดูแลรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงขึ้น ด้านสังคม สามารถควบคุมอารมณ์ให้แสดงออกอย่างเหมาะสม มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมทางสังคมได้อย่างสันติสุข ด้านจิตใจ จิตเบิกบาน ผ่อนคลาย สงบและเป็นสุข มีกำลังใจดี ด้านปัญญา ใช้ชีวิตด้วยปัญญา สามารถแก้ไขปัญหา ดับความทุกข์และเป็นอิสระจากกิเลส ทุกคนจึงพยายามทำสมาธิอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ เพื่อรักษาและพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น

References

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2561). การพัฒนาที่ยั่งยืน. พิมพ์ครั้งที่ 21. นครปฐม: ม.ป.ท.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 27. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์พระพุทธศาสนาของธรรมสภา.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2557). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. พิมพ์ครั้งที่ 39. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมมงคลญาณ (วิริยังค์ สิรินฺธโร). (2554). ธรรมะรุ่งอรุณ 2. กรุงเทพมหานคร: ม.ป.ท.

พระเทพเจติยาจารย์ (วิริยังค์ สิรินฺธโร). (2552). หลักสูตรครูสมาธิ. เล่ม 3. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: บริษัทประชาชนจำกัด.

พระเทพเจติยาจารย์ (วิริยังค์ สิรินฺธโร). (2550). หลักสูตรครูสมาธิ เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: บริษัทประชาชนจำกัด.

พระเทพเจติยาจารย์ (วิริยังค์ สิรินฺธโร). (2547). สร้างคุณธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: บริษัทประชาชนจำกัด.

พระนราศักดิ์ วรธมฺโม. (2560). วิเคราะห์แนวคิดเรื่องสันติภาพของ ติซ นัท ฮันห์. วิทยานิพนธ์ พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระแมน ฐิติเมโธ. (2561). ธรรมชาติของมนุษย์ในทัศนะของพระพุทธทาสภิกขุ. วารสารศึกษาศาสตร์ มมร. 6(2), 2007.

พระเสริมพร แก้วมะ และ ศรัณย์ ธิติลักษณ์. (2560). ผลการปฏิบัติสมาธิที่มีต่อบทบาทภาวะผู้นำ. รายงานวิจัย. การประชุมระดับชาติ: มหาวิทยาลัยรังสิต.

จำลอง ดิษยวณิช. (2554). จิตวิทยาของความดับทุกข์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: ต้นบุญ.

สุทธิลักษณ์ สุทธิ. (2560). สมาธิกับการเสริมสร้างพลังจิตตานุภาพ: วิเคราะห์จากวิธีการสอนสมาธิของ พระธรรมมงคลญาณ (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร). วิทยานิพนธ์พุทธศาตรดุษฏีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-30