การวิเคราะห์ความเชื่อเกี่ยวกับการบูชาพระพุทธบาทสี่รอย อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • พระจำรัส โชติธมฺโม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • ลิปิกร มาแก้ว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

คำสำคัญ:

ความเชื่อ, การบูชา, พระพุทธบาทสี่รอย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาการบูชาในพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาพระพุทธบาทสี่รอย อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ 3) เพื่อวิเคราะห์ความเชื่อเกี่ยวกับการบูชาพระพุทธบาทสี่รอย อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากเอกสารและการเก็บข้อมูลภาคสนาม ผลการวิจัยพบว่า การบูชา คือ การยกย่อง เชิดชู เลื่อมใส ด้วยความบริสุทธิ์ใจ จริงใจไม่เสแสร้ง แกล้งทำ ถือเป็นมงคลอันสูงสุด ด้วยลักษณะแห่งการกระทำ 3 อย่าง คือ 1) ปัคคัณหะปูชา คือ การบูชาด้วยการกล่าวยกย่อง สรรเสริญ 2) สักการะปูชา คือ การบูชาด้วยเครื่องสักการะ มีดอกไม้ ธูป เทียน 3) สัมมานะปูชา คือ การบูชาด้วยการยอมรับ ประวัติความเป็นมาพระพุทธบาทสี่รอย อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ โยงไปถึงสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้า พร้อมกับสาวก 500 องค์ ได้เสด็จจาริกประกาศธรรม และโปรดเวไนยสัตว์มายังปัจจันตประเทศ ได้แวะฉันจังหันอยู่บนเขาเวภารบรรพตแห่งนี้ การวิเคราะห์ความเชื่อเกี่ยวกับการบูชาพระพุทธบาทสี่รอย อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ คติการบูชารอยพระพุทธบาทมีที่มาจากความเชื่อในเรื่องการให้ความสำคัญของพระพุทธเจ้าเป็นบุคคลที่จะเสด็จอุบัติขึ้นได้โดยยาก ด้านการบูชา การบูชาคือการยกย่อง เชิดชู เลื่อมใสด้วยความบริสุทธิ์ใจ ด้านประเพณี พิธีกรรมจัดขึ้นในเดือน 6 เป็ง ด้านความสำคัญและอานิสงส์ ล้วนมีเป้าหมายไปสู่หลักธรรมอันสูงสุดทางพระพุทธศาสนา ยังความเห็นถูก ให้เจริญงอกงาม ให้มีกิริยามารยาท สุภาพอ่อนโยน จิตใจผ่องใส สติสัมปชัญญะบริบูรณ์ขึ้น

References

คมเนตร เชษฐพัฒนวนิช. (2540). ความเชื่อพื้นบ้านล้านนา. เชียงใหม่ : สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

บุญเลิศ เสนานนท์. (2536). ตำนานพระพุทธบาทและคัมภีร์พุทฺธปาทลกฺขณ. กรุงเทพมหานคร : บริษัทศรีอนันต์ การพิมพ์ จำกัด.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มูลนิธิภูมิพโลภิกขุ. (2523). สทฺทนีติปกรณ์ ธาตุมาลา ฉบับมูลนิธิภูมิพโลภิกขุ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มูลนิธิภูมิพโล.

โสภณ จาเลิศ. (2559). “การวิเคราะห์ความเชื่อและการบูชาเกี่ยวกับรอยพระพุทธบาทของชาวพุทธล้านนา”. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Virginia McKeen Di Crocco. (2555). รอยพระบาทพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ ในภัทรกัปนี้ ตามกรอบคิดแบบสิงหล – สยาม แปลโดย สมหวัง แก้วสุฟอง. นครปฐม : หมีดีไซน์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-29