ศึกษาวิเคราะห์การบริหารจัดการเชิงพุทธของวัดพระสิงห์ วรมหาวิหาร

ผู้แต่ง

  • พระอำนาจ ถิรวิริโย (ขันตา) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การบริหาร, การบริหารจัดการเชิงพุทธ, วัดพระสิงห์ วรมหาวิหาร

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีการบริหารจัดการเชิงพุทธ 2) เพื่อศึกษาบริบทการบริหารจัดการของวัดพระสิงห์ วรมหาวิหาร 3) เพื่อวิเคราะห์การบริหารจัดการเชิงพุทธของวัดพระสิงห์ วรมหาวิหารการ ซึ่งผลของการวิจัยมีดังนี้

1) การบริหารจัดการ เป็นศิลปะแห่งการทำงานให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ส่วนการบริหารจัดการเชิงพุทธ เป็นการน้อมนำเอาหลักพุทธธรรมมาใช้ในการบริหาร ผู้บริหารที่ดี ต้องมีคุณลักษณะ 3 ประการ คือ 1 มีความชำนาญในการใช้ความคิด 2 มีความชำนาญด้านเทคนิค 3 มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี

2) วัดพระสิงห์ วรมหาวิหาร มีการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม ทั้งฝ่ายคณะสงฆ์และฆราวาส ได้นำศาสตร์การบริหารสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้กับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เพื่อบริหารวัดตามภารกิจ 6 ด้านของคณะสงฆ์ คือ 1 ด้านการปกครอง 2 ด้านการศาสนศึกษา 3 ด้านการศึกษาสงเคราะห์ 4 ด้านการเผยแผ่ 5 ด้านการสาธารณูปการ 6 ด้านการสาธารณะสงเคราะห์

3) ผู้บริหารวัด มีท่านอาวาส ผู้ช่วยเจ้าอาวาสและคณะกรรมการวัดพระสิงห์ วรมหาวิหาร ได้น้อมนำหลักพุทธธรรมมาใช้ในบริหารจัดการวัดทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ พรหมวิหาร 4 อิทธิบาท 4 อธิปไตย 3 สาราณิยธรรม 6 และสังคหวัตถุ 4 ทั้งนี้เพื่อก่อให้เกิดคุณประโยชน์อันดีงามและก่อให้เกิดความสุขต่อตนเอง ต่อองค์กร ต่อเพื่อนร่วมงาน และสังคม ดังจะเห็นได้จากการที่ผู้บริหารวัดและพนักงานมีความสุขในการทำงาน และมีความสุขใจมากขึ้นที่ได้เห็นวัดมีการบริหารจัดการที่ดี

References

พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2539). การปกครองคณะสงฆ์ไทย, กรุงเทพมหานคร : มูลนิธีพุทธธรรม.

พระธรรมกิตติวงศ์. (2541).“พระสงฆ์กับกรมการศาสนา” ในกรมการศาสนาสู่ทศวรรษแห่งการพัฒนา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์การศาสนา.

พระราชรัตนมุนี (ชัยวัฒน์ ปญฺญฺาสิริ). (2538). การจัดสาธารณูปการและสาธารณะสงเคราะห์ของวัด. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์การศาสนา.

พระเมธีธรรมาภรณ์ (ประยูรธมฺมจิตฺโต). (2542). การปกครองคณะสงฆ์ไทย, กรุงเทพมหานคร : สหธรรมิก.

พระมหาสุริยา หอมวัน. (2549).“บุคลิกภาพของเจ้าอาวาสที่พึงประสงค์ : กรณีศึกษาพระภิกษุ-สามเณร วัดสระกำแพงใหญ่ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ”, สารนิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารองค์กร.บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกริก.

กูลิค และอูวิค (Gulick L. and UrwickJ.) อ้างใน สมาน รังสิโยกฤษฎ์. (2545). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล. พิมพ์ครั้งที่ 17. กรุงเพทมหานคร : นำกังการพิมพ์.

กรมการศาสนา. (2542). คู่มือการบริหารและการจัดการวัดฉบับย่อ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์การศาสนา.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2546). การบริหารการศึกษา, กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ทิพย์วิสุทธิ์.

สำนักงานเจ้าคณะอำเภอเมืองเชียงใหม่.(2548). ประวัติวัดในอำเภอเมืองเชียงใหม่. เชียงใหม่: โรงพิมพ์นันทพันธ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-30