เกณฑ์ตัดสินทางพุทธจริยศาสตร์เกี่ยวกับการใช้ปัญญาประดิษฐ์

ผู้แต่ง

  • ธันรบ วงศ์ษา คณะพุทธศาสตร์บัณฑิต สาขาปรัชญา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ปัญญาประดิษฐ์, พุทธจริยศาสตร์, เกณฑ์ตัดสิน

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์  2) เพื่อศึกษาเกณฑ์ทางพุทธจริยศาสตร์ 3) เพื่อวิเคราะห์เกณฑตัดสินทางพุทธจริยศาสตร์ที่มีต่อปัญญาประดิษฐ์ เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร ผลจากการศึกษาพบว่า

1) ปัญญาประดิษฐ์ คือ การสร้างเครื่องมือทุ่นแรง อำนวยความสะดวก หรือ การแก้ปัญหาด้านต่างๆ ให้กับมนุษย์ และเป็นการสร้างความสามารถในการเรียนรู้ให้กับเครื่องจักร (Machine Learning)

2) ในประเด็นทางพุทธจริยศาสตร์ พบว่า หลักเกณฑ์ตัดสิน คือ (1) เจตนา (2) การกระทำ (3) ผลการกระทำ ทำหน้าที่วินิจฉัยความดี ความชั่ว เริ่มตั้งแต่ขั้นพื้นฐาน คือ เบญจศีล และ เบญจธรรมที่ควบคู่กัน จนถึงขั้นกลาง และ ขั้นสูง ก็จะยกระดับลึกซึ้งขึ้น โดยมีหลักกุศลกรรมบถ 10 ประการ และ อริยมรรคมีองค์แปด ตามลำดับ

3) เมื่อวิเคราะห์เกณฑ์ตัดสินทางพุทธจริยศาสตร์ที่มีต่อปัญญาประดิษฐ์ พบว่า ในทางพุทธจริยศาสตร์ ถือว่า มโนกรรมมีความสำคัญที่สุด จัดว่าเป็นผลโดยตรง เช่น การใช้ปัญญาประดิษฐ์ โจรกรรมข้อมูลทางการค้า การสั่งโดรนสังหารโจมตีข้าศึกที่เป็นเป้าหมาย เป็นต้น ฉะนั้น เจตนาของผู้ใช้งาน หรือ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จึงเป็นเกณฑ์ตัดสินเริ่มต้นก่อน ตามด้วยการกระทำ และ ผลการกระทำตามลำดับ แต่มีหลักการเกี่ยวกับเรื่องเจตนาและผลของการกระทำ คือ (1) การกระทำที่เกิดจากเจตนาที่ดี ให้ดูที่เจตนาเพียงอย่างเดียวเป็นหลัก (2) หากการกระทำนั้นเกิดจากเจตนาร้าย จะดูเพียงเจตนาอย่างเดียวไม่ได้ ต้องดูผลด้วย หากว่าผลเป็นไปตามเจตนาร้ายนั้นทุกอย่าง การกระทำนั้นก็ชั่วอย่างสมบูรณ์ แต่ถ้าผลไม่ตรงกับเจตนา น้ำหนักของความชั่วร้ายลดลงตามสัดส่วน

ผู้ใช้งานจึงจำแนกออกเป็น (1) ระดับของผู้ใช้ และ (2) อำนาจการตัดสินใจใช้ โดยต้องยอมรับว่ามีทั้งคุณและโทษ คือใช้เพื่อสร้างสรรค์ก็ได้ และใช้เพื่อทำลายล้างก็ได้ ดังนั้นความรับผิดชอบในการกระทำที่เกิดจากปัญญาประดิษฐ์ จึงเป็นประเด็นทางจริยศาสตร์ โดยเฉพาะภายใต้สถานการณ์ที่มีความขัดแย้งทางจริยธรรม (ethical dilemmas) เกณฑ์ตัดสินทางพุทธจริยศาสตร์ ตลอดจน หลักการของเจตนาที่เป็นหัวใจสำคัญของพุทธปรัชญาจะเข้ามาช่วยในการวินิจฉัย และ ตัดสินใจ

References

David Hume. (1983). A Treatise of Human NatureOxford: Oxford University Press.
John Sturat Mill. (1963). The Collected Works of John Sturat Mill.London : Toronto University Press and Routiedge Kegan Paul.
Joshua Dressler. (2019). Cases and Materials on Criminal Law. United States of America : Eagan, Minnsota & West Academic Publishing.
Martin Heidegger. (1977). The Question Concerning Technology. United States of America: Harper & Row Publishers.
Michel Foucault. (1964). Madness and Civilization. France : Pantheon Books.
William M. (1967). Clark and William L. Marshall. Law of Crimes. Chicaco: Callaghan Company& Publisher.
จารุณี ดวงสุวรรณ. (2559). ปัญญาประดิษฐ์ 1. สงขลา : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
จินตนา บุญบงการ. (2555). จริยธรรมทางธุรกิจ. พิมพ์ครั้งที่ 15. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปรีดี เกษมทรัพย์. (2557). นิติปรัชญา. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพมหานคร : โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ปรุตม์ บุญศรีตัน. (2563). พุทธจริยศาสตร์. ภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหากฤษณะ ตรุโณ. (2554). วิเคราะห์การดำเนินชีวิตของคนไทยในเชิงปรัชญา. รายงานการวิจัย. กองวิชาการ : สำนักอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาสุรชัย ชยาภิวฑฺฒโน. (2560). พุทธจริยศาสตร์ ว่าด้วยปาณาติบาต.วารสารรามคำแหง ฉบับมนุษยศาสตร์. 36 (1), 144.
วศิน อินทสระ.(2549). พุทธจริยศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ธรรมดา.
ศุภชัย ศุภผล. (2558). จอห์น รอลส์ ว่าด้วยทฤษฎีความยุติธรรม และ ชีวิตของจอนห์น รอลส์, กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์วิคตอรี่.
สมภาร พรมทา. (2554). นิติปรัชญา : สำนักกฎหมายอิงโลก. วารสารปัญญา (Wisdom magazine). 1 (2), 519 - 523.
สุกมล มุ่งพัฒนสุนทร. (2561). ยุคแห่งสังคม AI : หาก AI มาแทนที่มนุษย์. รายงานการวิจัย.การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สุนทร ณ รังษี.(2550). พุทธปรัชญาในพระไตรปิฎก. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
อุทัย กมลศิลป์. (2561). การศึกษาวิเคราะห์แนวคิดพุทธจริยศาสตร์กับโทษประหารชีวิต. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-30