รูปแบบการประชาสัมพันธ์เชิงพุทธของคณะสงฆ์ ภาค 7
คำสำคัญ:
การประชาสัมพันธ์, การประชาสัมพันธ์เชิงพุทธ, คณะสงฆ์ไทย, คณะสงฆ์ภาค 7บทคัดย่อ
บทความนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดและหลักการของการประชาสัมพันธ์ในพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาการประชาสัมพันธ์ของคณะสงฆ์ไทย และ 3) เพื่อศึกษารูปแบบการประชาสัมพันธ์เชิงพุทธของคณะสงฆ์ภาค 7 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้เครื่องมือแบบสัมภาษณ์นักวิชาการด้านศาสนาและนักการประชาสัมพันธ์ ผลจากการวิจัยพบว่า 1) แนวคิดและหลักการของการประชาสัมพันธ์ในพระพุทธศาสนา จำแนกเป็น (1) แนวคิด หมายถึง การที่องค์กรศาสนาต้องการสื่อสารกิจกรรมของตนต่อสาธารณชน และ (2) หลักการ หมายถึง การที่พระพุทธเจ้าต้องการที่จะแสดงธรรมให้ผู้ฟังเข้าใจอุดมการณ์ของพระศาสนา 2) การประชาสัมพันธ์ของคณะสงฆ์ไทย มี 2 ลักษณะ คือ 1) ด้านรูปแบบ ใช้การประชาสัมพันธ์โดยตรง เช่น การสื่อสารต่อหน้า กับโดยอ้อม และ 2) ด้านขอบเขต คือ การประชาสัมพันธ์ภายในและ ภายนอกองค์กร กระบวนการประชาสัมพันธ์ยังคงรักษารูปแบบเหมือนในสมัยพุทธกาล แต่ในระยะ 10 ปีมานี้ เน้นนโยบายการประชาสัมพันธ์เชิงรุก มีการจัดทำโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ทั่วประเทศ นำเสนอผลสำเร็จ ประกาศยกย่องให้เป็นหมู่บ้านต้นแบบ 3) รูปแบบการประชาสัมพันธ์เชิงพุทธของคณะสงฆ์ภาค 7 มี 6 รูปแบบ คือ (1) รูปแบบเทศนาวิธี (2) รูปแบบการใช้เครื่องมือสื่อสาร (3) รูปแบบกิจกรรม (4) รูปแบบโครงการ (5) รูปแบบกิจวัตรประจำวัน และ (6) รูปแบบจารีตนิยม ซึ่งผู้วิจัยได้นำทั้ง 6 รูปแบบมาเป็นเครื่องมือแก้ปัญหา โดยใช้โครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 เป็นตัวอย่าง คือ (1) ศึกษาปัญหาและผลกระทบ (2) กำหนดนโยบายป้องกันและปราบปราม (3) ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของบุคลากร (4) จัดสรรงบประมาณที่เพียงพอ (5) กำหนดนโยบายการประชาสัมพันธ์เชิงรุก และ (6) ประเมินผลการประชาสัมพันธ์
References
คณะกรรมการโครงการฯ “หมู่บ้านรักษาศีล 5” ส่วนกลาง. (2560). รายงานการตรวจสอบติดตามโครงการสร้างความปรองดอง
สมานฉันท์โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา “หมู่บ้านรักษาศีล 5 ประจำปี 2560”. กรุงเทพมหานคร : บริษัทอัพทรูยู ครีเอทนิว จำกัด.
ทัศนีย์ เจนวิถีสุข. (2554). การสื่อสารเชิงพุทธกับการเปลี่ยนแปลงเชิงสังคม. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ปรุตม์ บุญศรีตัน. (2550). รูปแบบการตีความคัมภีร์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2549). พุทธวิธีบริหาร. กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2540). พระพุทธศาสนาในอาเซีย. กรุงเทพมหานคร : ธรรมสภา.
พระพุทธโฆสเถระ. (2546). คัมภีร์วิสุทธิมรรค. กรุงเทพมหาคร : ธนาเพรสจำกัด.
พระมหาวัชวีร์ วชิรเมธี. (2558). สารสนเทศคณะสงฆ์อำเภอแม่ทะ. เชียงใหม่ : โรงพิมพ์แม๊กซ์พริ้นติ้ง.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สำนักงานแม่กองบาลีสนามหลวง. (8 สิงหาคม 2561). แม่กองบาลีสนามหลวง. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2561. แหล่งที่มา http://www.i nfopali.net
สำนักเรียนพระปริยัติธรรมวัดพระธรรมกาย. (2558). ธรรมบทภาคที่ 8 แปลโดยพยัญชนะฉบับสองภาษา (ไทย-บาลี). กรุงเทพมหานคร : เลี่ยงเชียง.