มโนทัศน์ความเป็นบัณฑิตตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท

ผู้แต่ง

  • พระมหาปณิธาน สุเมโธ (เป็งอิ่น) Mahamakut Buddhist University
  • พระมหาวิเศษ ปญฺญาวิชิโร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
  • พระครูสมุห์ธนโชติ จิรธมฺโม มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาความหมายและแนวคิดของบัณฑิตตามพุทธปรัชญาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาคุณลักษณะและคุณสมบัติของบัณฑิตตามพุทธปรัชญาเถรวาท 3) เพื่อวิเคราะห์มโนทัศน์ความเป็นบัณฑิตตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เน้นการวิเคราะห์เอกสาร (Focuses on documents analysis) ที่เกี่ยวข้องจากนั้นได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูล (Qualitative Research) โดยนำข้อมูลที่ได้จากเอกสารที่เกี่ยวข้อง (Document Analysis) มาวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) เพื่อเรียบเรียงเป็นรายงานวิจัย ผลการวิจัยพบว่า 1) ความหมายและแนวคิดของบัณฑิตตามพุทธปรัชญาเถรวาท คือ ผู้ทรงความรู้ นักปราชญ์ หรือเป็นผู้สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญามี 3 ขั้น คือ บัณฑิต มหาบัณฑิต ดุษฎีบัณฑิต ส่วนบัณฑิตในทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาท คือ ผู้เป็นนักปราชญ์ผู้ดำเนินชีวิตด้วยปัญญาคติในประโยชน์ปัจจุบัน ประโยชน์ภายภาคหน้า และประโยชน์อย่างยิ่ง แนวคิดของบัณฑิตในพุทธปรัชญาจะมีลักษณะพิเศษ กล่าวคือ เป็นผู้ประกอบด้วยกายสุจริต วาจาสุจริต และมโนสุจริต 2) คุณลักษณะและคุณสมบัติของบัณฑิตตามพุทธปรัชญาเถรวาท คือ ไม่แนะนำสิ่งที่ไม่ดี แนะสิ่งที่ดี กล่าวตักเตือนไม่โกรธ รู้ระเบียบวินัย และคุณสมบัติ คือ ผู้ดำเนินชีวิตตามหลักศีล 5 กุศลกรรมบถ 10 หลักอริยบุคคล 8 และหน้าที่ของความเป็นบัณฑิตตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท ประกอบด้วยหน้าที่ของบัณฑิตระดับตน ครอบครัว สังคม ชาติ และระดับโลก 3) วิเคราะห์มโนทัศน์ความเป็นบัณฑิตตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท คือ ความคนที่ฉลาด มีสติปัญญา ฉลาดในเหตุและผล ชุมชน ฉลาดในการแก้ปัญหา และชี้แนะแนวทางนั้นๆ เป็นอย่างดี เป็นผู้รู้ดี รู้ถูก รู้ชอบ เป็นผู้มีปกติคิดเรื่องที่ดีมีสาระ พูดเรื่องที่ดีมีสาระ ทำเรื่องที่ดีมีสาระ ผู้ประกอบด้วยญาตปริญญา ตีรณปริญญา และปหานปริญญา พร้อมกับเป็นผู้สามารถพัฒนาตนเองจากความเป็นปุถุชนจนถึงความเป็นพระอริยบุคคล กล่าวคือ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์

References

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2556). การศึกษาทั่วไปเพื่อสร้างบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร: ธรรมะอินเทรนด์.

พระทนงค์ศักดิ์ ปภงฺกโร (ดื่นขุนทด). (2554). การมองโลกตามหลักพุทธปรัชญา. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระสมพร โชติวโร (ทิกามล). (2560). การศึกษาเปรียบเทียบบัณฑิตในพระพุทธศาสนาเถรวาทกับศาสนาขงจื๊อ. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มงฺคลตฺถทีปนี (ปฐโม ภาโค). (2556). นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2540). เสริมสร้างความเข้มแข็งของสถาบันอุดมศึกษาในด้านที่เกี่ยวกับคุณธรรมของบัณฑิตในรูปของเครือข่ายพัฒนาบัณฑิตอุดมคติไทย. กรุงเทพมหานคร:สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-29