การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับสะเต็มศึกษาในประเทศไทย
คำสำคัญ:
สะเต็มศึกษา, การสังเคราะห์งานวิจัยอย่างเป็นระบบ, งานวิจัยบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับสะเต็มศึกษาในประเทศไทย ประชากร คือ งานวิจัยเกี่ยวกับสะเต็มศึกษาที่อยู่ในประเทศไทยในช่วง 5 ปี (พ.ศ.2559-2563) จำนวนทั้งสิ้น 115 เรื่อง และกลุ่มตัวอย่างเป็นงานวิจัยที่มีฉบับสมบูรณ์ทั้งสิ้น 104 เรื่อง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินคุณภาพงานวิจัย และแบบบันทึกคุณลักษณะงานวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า ปีที่ทำงานวิจัยเสร็จมากที่สุด คือ พ.ศ. 2560 สาขาที่ผลิตงานวิจัยมากที่สุดคือ วิทยาศาสตร์ศึกษา เพศหญิงทำวิจัยมากกว่าเพศชาย วัตถุประสงค์ของการทำวิจัยมากที่สุดคือเพื่อศึกษา มีแบบแผนการวิจัยเชิงทดลองมากที่สุด มีสมมติฐานแบบมีทิศทางมากที่สุด มีแบบแผนการวิจัยแบบหนึ่งกลุ่มวัดก่อน-หลังมากที่สุด มีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงมากที่สุด มีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนหรือนักศึกษามากที่สุด และอยู่ในระดับมัธยมศึกษามากที่สุด สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษามากที่สุด และส่วนมากไม่ระบุคุณภาพของเครื่องมือ มีเครื่องมือเป็นแบบวัดหรือแบบทดสอบมากที่สุด และใช้คอมพิวเตอร์ในการวิเคราะห์ข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลมากที่สุดคือ Dependent t-test
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). รายงานการสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับคุณภาพการศึกษาไทย: การวิเคราะห์อภิมาน (Meta-analysis). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทรงศักดิ์ ภูศรีอ่อน. (2558). การประยุกต์ใช้ SPSS วิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 7. มหาสารคาม: ตักศิลาการพิมพ์.
รัตนะ บัวสนธ์. (2560). ปรัชญาวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วัชระ งามจิตรเจริญ. (2544). อนัตตาและนิพพานในพระไตรปิฏก. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 1(1), 93-116.
ศานิตย์ ศรีคุณ. (2562). การวิเคราะห์อภิมานเกี่ยวกับรูปแบบการสอนที่ใช้ประสาทวิทยศึกษาศาสตร์เป็นฐานที่ส่งผลต่อผลการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในประเทศไทย. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่. 5(2), 127-147.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2556). สะเต็มศึกษาประเทศไทยและฑูตสะเต็ม. นิตยสาร สสวท. 42(185), 14-18.
สุธีระ ประเสริฐสรรพ์. (2559ก). การเข้าใจวิทยาศาสตร์ที่ครบถ้วน: เป้าหมายสูงสุดของสะเต็มศึกษา. สงขลา: บริษัท นำศิลป์โฆษณา จำกัด.
สุธีระ ประเสริฐสรรพ์. (2559ข). ถอดรหัสการสอนสะเต็ม. สงขลา: บริษัท นำศิลป์โฆษณา จำกัด.
องอาจ นัยพัฒน์. (2548). วิธีวิทยาการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด สามลดา.
Lueangsuwan, T. and Srikoon, S. (2019). Meta-Analysis of Schema Theory Effected on Student’s Reading Comprehension in Thailand. International Conference on Language Studies (ICELS) 2019. 13-14 September 2019 at Faculty of Humanities and Social Sciences, Khon Kaen University, Khon Kaen, Thailand, 115-122.
Srikoon, S., Bunterm, T., Samranjai, J. and Wattanathorn, J. (2014). Research Synthesis of Research-Based Learning for Education in Thailand. Procedia-Social and Behavioral Sciences. 116(1), 913-917.
Srikoon, S., Apaivatin, R., Monsang, P., Khamngoen, S. and Malaitao, T. (2020). Construct Validity of Assessing Interest in STEM Content Scale. Education Research International. 2020(1), 1-7.