วิเคราะห์คติจักรวาลงานพุทธสถาปัตยกรรมวัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร

ผู้แต่ง

  • พระอธิวัฒน์ รตนวณฺโณ (ธรรมวัฒน์ศิริ) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • พระครูพิพิธสุตาทร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • ฉลองเดช คุภานุมาต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

พุทธจักรวาลวิทยา, พุทธสถาปัตยกรรม

บทคัดย่อ

ถาปัตยกรรมล้านนา 2) เพื่อศึกษาพุทธสถาปัตยกรรมวัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร 3) เพื่อวิเคราะห์คติจักรวาลในงานพุทธสถาปัตยกรรมวัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร เป็นงานวิจัยเป็นเชิงคุณภาพประกอบด้วยการศึกษาทางเอกสาร ผลการวิจัยพบว่า 1) ศิลปินล้านนาได้นำแนวความคิดเรื่องพุทธจักรวาลวิทยามาใช้ในงานศิลป์ ศิลปินได้ถ่ายทอดเรื่องพุทธจักรวาลวิทยาออกมาในงานศิลปะเชิงรูปธรรม พุทธจักรวาลวิทยา ประกอบด้วยภูเขาสุเมรุเป็นศูนย์กลางของจักรวาล ศิลปินได้นำแนวความคิดนี้ไปสู่การวางผังวัด เช่น การสร้างเจดีย์แทนความหมายของภูเขาสุเมรุ ซึ่งเป็นศูนย์กลางจักรวาลอยู่ภายในวัด 2) พุทธสถาปัตกรรมภายในวัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร แบ่งออกเป็นสองชั้นมีกำแพงแก้วล้อมเขตพุทธาวาสชั้นใน และมีกำแพงชั้นนอกล้อมเขตของวัดไว้ทั้งหมด มี “จตุรวิหารทิศ” ทั้งสี่ล้อมรอบองค์ พระธาตุหริภุญชัย พระวิหารหลวงตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก วิหารพระละโว้ตั้งอยู่ด้านทิศเหนือ วิหารพระทันใจตั้งอยู่ด้านทิศตะวันตก วิหารพระพุทธตั้งอยู่ด้านทิศใต้ และเขาพระสุเมรุจำลอง ทั้งหมดนี้ตั้งอยู่ภายในกำแพงแก้ว จึงเป็นจุดเริ่มต้นจึงถือว่าเป็นการจัดวางผังตามคติจักรวาลวิทยาตามพระพุทธศาสนา 3) การแทนสัญลักษณ์ทางจักรวาลวิทยาภายในวัด ด้านหน้าเมื่อเดินเข้าวัดจะต้องผ่านซุ้มประตูโขง ซึ่งจำลองมาจากป่าหิมพานต์ มีสิงห์อยู่คู่หนึ่งอยู่ทางเข้าประตูก่อนเข้าไปยังเขาพระสุเมรุและยังมีทวีปทั้ง 4 คือ ชมพูทวีป อมรโคยานทวีป ปุพพวิเทหะทวีป และ อุตรกุรุทวีป

References

ฉลองเดช คูภานุมาต. (2558). “คติจักรวาลวิทยาพุทธศาสนาในจิตรกรรมล้านนา”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่.

ปัญจพัฒน์ สิริกรวัฒนกุล. (2558). “อิทธิพลของพุทธจักรวาลวิทยาที่มีต่อการวางผังสร้างวัดในล้านนา”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรราชวิทยาลัย.

ปัญจพัฒน์ สิริกรวัฒนกุล. (2558). อิทธิพลของพุทธจักรวาลวิทยาที่มีต่อการวางผังสร้างวัดในล้านนา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระโพธิรังสี. (2526). จามเทวีวงศ์. พระนคร: โรงพิมพ์รุ่งวัฒนา.

วัดพระธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหาร. (2557). ประวัติผลงานพระเทพมหาเจติยาจารย์ และ จดหมายเหตุ วัดพระธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหาร. ลำพูน: ณัฐพลการพิมพ์.

วัดพระธาตุหริภุญชัย. (2557). ตำนานมูลศาสนา ปฐมพงศาวดารล้านนาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 3, เชียงใหม่: ณัฐพลการพิมพ์.

สัมภาษณ์ ภาณุมาศ ภักดี. (2561). อาจารย์ประจำคณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา. 13 กันยายน

หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรมท้องถิ่นจังหวัดลำพูน. (มปพ). สถาปัตยกรรมในเมืองลำพูนที่ควรอนุรักษ์, ลำพูน: มปพ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-24