การพัฒนานวัตกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวบ้านขุนไชยทองอำเภอชุมพลบุรีจังหวัดสุรินทร์

Development of Tourism Promotion Innovation at Ban Khunchaithong, Chumphonburi District, Surin Province

ผู้แต่ง

  • ทองพูล ขุมคำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • พิพัฒน์ วิถี สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน
  • พีรวัส อินทวี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

คำสำคัญ:

การพัฒนานวัตกรรม ส่งเสริมการท่องเที่ยว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการท่องเที่ยวบ้านขุนไชยทองอำเภอชุมพลบุรีจังหวัดสุรินทร์ เพื่อสร้างและพัฒนานวัตกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวบ้านขุนไชยทองอำเภอชุมพลบุรีจังหวัดสุรินทร์ และเพื่อพัฒนาการใช้นวัตกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวบ้านขุนไชยทองอำเภอชุมพลบุรีจังหวัดสุรินทร์ด้วยนวัตกรรมที่เหมาะสม กำหนดกลุ่มเป้าหมายการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มประกอบการด้านการท่องเที่ยวของบ้านขุนไชยทอง และกลุ่มประชาชนและนักท่องเที่ยวผู้ใช้บริการในพื้นที่บ้านขุนไชยทอง โดยการสุ่มเลือกอย่างง่าย จำนวน 80 คน เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกและแบบสอบถามโดยคณะผู้วิจัย และนำมาวิเคราะห์เชิงพรรณา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการท่องเที่ยวบ้านขุนไชยทองมีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ คือ การเลี้ยงช้าง จำนวน 25 ครัวเรือน โดยมีช้างขึ้นทะเบียน 69 ตัว มีจุดเด่นที่ช้างเลี้ยงในโครงการนำช้างกลับบ้าน พาควาญคืนถิ่น และโฮมสเตย์ช้าง 2) การสร้างและพัฒนานวัตกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวบ้านขุนไชยทองอำเภอชุมพลบุรีจังหวัดสุรินทร์ โดยการสำรวจความคิดเห็นโดยภาพรวมมีศักยภาพการรับรองอยู่ในระดับปานกลาง (x=3.21; S.D.=0.385) สามารถนำข้อมูลการท่องเที่ยวเรื่องช้างเลี้ยงต้องห้ามและส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วยโฮมสเตย์ช้างมาสร้างและพัฒนานวัตกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวในรูปแบบเว็บไซต์การท่องเที่ยวของหมู่บ้าน คือ http://khunchaithong.srru.ac.th

References

กรมการท่องเที่ยว. (2560). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวของประเทศ พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพมหานคร : บริษัท พีดับบลิว ปริ้นติ้ง จำกัด.

ชาญชัย อรรคผาติและณิชกานต์ เฟื่องชูนุช. (2561). การพัฒนาแอปพลิเคชันแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวในกลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์โดยใช้เทคโนโลยีภาพเสมือนจริง. สงขลา : การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 10.

ทองใบ ศรีสมบัติ. (2535). การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมการเลี้ยงช้างและการประกอบอาชีพเลี้ยงช้างของหมู่บ้านช้างจังหวัดสุรินทร์. กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น.

มีชัย แก้วหอม และคนอื่น ๆ. (2553). ศึกษาสถานการณ์และการแก้ไขปัญหาช้างเร่ร่อน กรณีศึกษา : ชุมชนคนเลี้ยงช้าง บ้านขุนไชยทอง ตำบลหนองเรือ อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

สมาพร คล้ายวิเชียร. (2551). ศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวหมู่บ้านช้างในอีสานใต้. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

สันติ ปานน้อย. (2551). การศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวในหมู่บ้านช้างในพื้นที่กลุ่มจังหวัดอีสานตอนใต้ เพื่อการเชื่อมโยงสู่การท่องเที่ยวแบบอื่น ๆ. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

นายเกียรติศักดิ์ ลักขษร. (2561). ผู้ใหญ่บ้านขุนไชยทอง ตำบลหนองเรือ อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์. สัมภาษณ์.

สุภางค์ จันทวานิช. (2542). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

สำนักบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1. (2555). มนต์เสน่ห์แห่งนครชัยบุรินทร์. กรุงเทพมหานคร : ธรรมะอินเทรนด์

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-26