กลยุทธ์การบริหารวิชาการของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยเพี่อส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน

ผู้แต่ง

  • ณัฐกานต์ พวงไพบูลย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • แม้นวาด รชนีกรไกรลาศ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

คำสำคัญ:

กลยุทธ์การบริหารวิชาการ, การพัฒนาที่ยั่งยืน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการของสถาบัน อุดมศึกษาในประเทศไทยและ 2) เพื่อศึกษากลยุทธ์การบริหารงานวิชาการของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยเพื่อส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน

ผลการวิจัยในวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 พบว่าสถาบันอุดมศึกษามีการบริหารด้านวิชาการด้านการพัฒนาหลักสูตรทั้งสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์สอดคล้องกันเป็นลำดับที่หนึ่ง การบริหารวิชาการเพื่อส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการจัดการเรียนการสอนมีความสำคัญเป็นลำดับที่สอง การบริหารวิชาการด้านการวัดผลประเมินผลมีความสำคัญเป็นลำดับที่สาม และการบริหารวิชาการเพื่อส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษามีความสำคัญเป็นลำดับที่สี่ ผลการวิจัยในวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 พบว่ามี 4 กลยุทธ์ดังนี้ กลยุทธ์การวิจัยเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน กลยุทธ์วัดผลประเมินผลการพัฒนาที่ยั่งยืน กลยุทธ์ปรับการเรียนการสอนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและกลยุทธ์เปลี่ยนกระบวนทัศน์หลักสูตร โดยข้อมูลที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ จะเป็นประโยชน์ในการนำเสนอกลยุทธ์การบริหารงานวิชาการของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป 

References

ตติมา ไกรพีรพรรณ. (2550). การพัฒนาหลักสูตรพฤกษศาสตร์พื้นบ้านสู่การสร้างจิตวิทยาศาสตร์โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน :กรณีชุมชนบ้านคีรีวง อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จุรีลักษณ์ พิมพ์รสและคงศักดิ์ ธาตุทอง. (2552). การศึกษารูปแบบการดำเนินงานของโรงเรียนสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน (Sustainable School) ในรัฐวิกทอเรีย ประเทศออสเตรเลีย. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยของแก่น.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพมหานคร.

พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์. (2553). การจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน : พื้นฐานการ ศึกษาด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : ไทยสัมพันธ์.

ยุพา เวียงกมล อัดโดดดร. (2554). กลยุทธ์การบริหารวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิไลพร วงศ์ฤทธิ์. (2547). การปฏิบัติงานวิชาการของครูมัธยมศึกษาในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งโรงเรียน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. พิมพ์ครั้งที่ 6 กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริมาศ โกศัลย์พิพัฒน์. (2553). การพัฒนากรบวนทัศน์การบริหารสาขาการศึกษาปฐมวัย ของคณะ ครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Dess, G and Miller, A. (1993). Strategic Management. Singapore : Mc Graw-Hill.

Jairo H. Garcia. (2010). Assessment of education for sustainable develop ment in Universities in Costa Rica : Implications for Latin America and the Caribbean. A dissertation Doctor of Education in Educational Technology. Pepperdine University : Copyright ProQuest, UMI Dissertations 2010.

Ontario Learning for Sustainability Partnership (OLSP). (1996). Learning for Sustainability : Essential Outcomes and Classroom Learning Strategies. Toronto : OLSP.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-24