แนวทางการสร้างสรรค์พระแผงไม้เชิงพุทธศิลป์ล้านนา

ผู้แต่ง

  • ฤษีเทพขาว พลอยทำ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • พูนชัย ปันธิยะ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • พระอธิวัฒน์ รตนวณฺโณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • สมหวัง แก้วสุฟอง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การสร้างสรรค์, พระแผงไม้, พุทธศิลป์, ล้านนา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา และคติความเชื่อในการสร้างพระแผงไม้ในล้านนา 2) เพื่อศึกษากระบวนการสร้างพระแผงไม้ในจังหวัดลำปาง และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการสร้างสรรค์พระแผงไม้เชิงพุทธศิลป์ล้านนา ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)

ผลการศึกษาพบว่า 1) พระแผงไม้เป็นงานพุทธศิลป์เครื่องไม้ล้านนาที่นิยมสร้างตามคติความเชื่อในเรื่องของอดีตพุทธเจ้า โดยมีการนำพระพิมพ์มาบรรจุในแผงไม้ จำนวน 28 องค์เพื่อสื่อถึงอดีตพุทธเจ้า เพื่อเป็นพุทธบูชาสืบต่อพระพุทธศาสนาจนถึง 5,000 ปี และเพื่อเป็นบุญกุศลให้กับตนเอง โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือ นิพพาน

2) การสำรวจกระบวนการสร้างพระแผงไม้ในจังหวัดลำปาง พบว่า มีอายุการสร้างระหว่างพุทธศตวรรษที่ 22ñ25 พระแผงไม้ที่คงสภาพรูปแบบทางศิลปกรรมดั้งเดิมยังมีอยู่ แม้ว่าพระพิมพ์ถูกนำออกไปจากแผงไม้ไปเกือบหมดสิ้นแล้วบ้าง ประกอบด้วยไม่มีการสร้างพระแผงไม้ในช่วงเวลาประมาณ 100 ปีที่ผ่านมา ทำให้เชื่อว่าพระแผงไม้ที่พบนั้นมีลักษณะแบบดั้งเดิม มีความสวยงาม และมีการประดับตกแต่งที่หลากหลายแตกต่างกันไปตามเอกลักษณ์เฉพาะตัวของช่างในแต่ละท้องถิ่น

3) แนวทางการสร้างพระแผงไม้เชิงพุทธศิลป์เป็นการประมวลองค์ความรู้เกี่ยวกับคติการสร้างพระแผงไม้ในล้านนา ผลของการสร้างพระแผงไม้เชิงพุทธศิลป์ยังทำหน้าที่เป็นสื่อศิลปะที่สะท้อนความหมายของหลักธรรมและหลักศรัทธาในพระพุทธศาสนา เพื่อการอนุรักษ์และสืบสานภูมิธรรมและพุทธิปัญญาของพุทธศาสนิกชนสืบต่อไป

References

ฉลองเดช คูภานุมาต. (2562). แนวคิดพระอดีตพุทธเจ้าในงานพุทธศิลป์ล้านนาเพื่อการสร้างสรรค์ศิลปะร่วมสมัย. วารสารวิจิตรศิลป์. 10(1), 182-208.

ชลูด นิ่มเสมอ. (2542). องค์ประกอบของศิลปะ. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.

ชลดา โกพัฒตา. (2556). คติความเชื่ออดีตพุทธเจ้าในสังคมไทยพุทธศตวรรษที่ 20-24. วารสารศิลปศาสตร์. 13(1), 79-80.

ฐาปกรณ์ เครือระยา. (2555). พระแผงไม้ (แผงพระพิมพ์). พุทธศิลป์ล้านนา: คุณค่า ศรัทธา และการอนุรักษ์. เชียงใหม่: ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ทิพวรรณ ทั่งมั่งมี. (2556). ภูมิปัญญาการสร้างพระพุทธรูปเกสรดอกไม้ในล้านนาเพื่อการสร้างสรรค์พระพุทธปฏิมาร่วมสมัย. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย. 33(2),107-133,

บำเพ็ญ ระวิน. (2540). ข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับแนวคิดเรื่อง “พุทธ” ในเอกสารล้านนา. ใน วรรณกรรมพุทธศาสนาในล้านนา. พรรณเพ็ญ เครือไทย บรรณาธิการ. กรุงเทพมหานคร: โอ เอส พริ้นติ้ง.

พูนชัย ปันธิยะ. (2559). พุทธศิลป์ล้านนา แนวคิด คุณค่า เพื่อเสริมสร้างจริยธรรมทางสังคม: กรณีศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ และลำพูน. รายงานการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. (2518). ตำนานพระพุทธเจดีย์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: องค์การค้าคุรุสภา.

สุวิภา จำปาวัลย์ และชัปนะ ปิ่นเงิน. (2551). การศึกษาพุทธสัญลักษณ์ล้านนา. รายงานวิจัย. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศรีศักร วัลลิโภดม. (2537). พระเครื่องในเมืองสยาม. กรุงเทพมหานคร: มติชน.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-24