ศึกษาวิเคราะห์การถวายผ้าทอในพิธีกรรมและประเพณีทางพระพุทธศาสนาของชาวไทยวนบ้านป่าบง ต.แม่คือ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • พระทศพล ขนฺตยาภรณสิริ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • พระวุฒิชัย มหาสทฺโท (เสียงใหญ่) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • วิโรจน์ วิชัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • พิรภานุวัตณ์ ชื่นวงศ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

คำสำคัญ:

วิเคราะห์, ผ้าทอในพิธีกรรม, ความเชื่อในทางพระพุทธศาสนา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาการทำผ้าทอในวิถีชีวิตของชาวไทยวนบ้านป่าบง ต.แม่คือ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาความเชื่อ หลักคำสอน และหลักปฏิบัติการถวายผ้าทอในพิธีกรรมและประเพณีทางพระพุทธศาสนาของชาวไทยวนบ้านป่าบง ต.แม่คือ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ และ 3) เพื่อวิเคราะห์การถวายผ้าทอในพิธีกรรมและประเพณีทางพระพุทธศาสนาของชาวไทยวนบ้านป่าบง ต.แม่คือ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ  และทำการรวบรวมข้อมูลเอกสารและการสัมภาษณ์ 

ผลการวิจัยพบว่า 1) ชาวไทยวนบ้านป่าบง มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมคือการทอผ้า โดยได้รับการเรียนรู้ ฝึกฝนจนเกิดความชำนาญสืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น และอาศัยการทอผ้าหล่อเลี้ยงชีพและครอบครัวมาโดยตลอด จนเป็นที่ยอมรับในวงการผ้าทอ และเป็นของดีประจำหมู่บ้าน 2)  การถวายทาน เป็นข้อปฏิบัติเบื้องต้น ที่พุทธศาสนิกชนพึงปฏิบัติ  การให้ผ้าเป็นทานได้ปรากฏในคัมภีร์พระไตรปิฎก มีมูลเหตุจากความศรัทธา ซึ่งประกอบด้วยหลักวัตถุสัมปทา ปัจจัยสัมปทา เจตนาสัมปทา คุณาติเรกสัมปทา และทาน ศีล ภาวนา จึงทำให้การถวายทานสำเร็จผล ทั้งระดับโลกิยะและโลกุตฺตระ และ 3) ชาวไทยวนบ้านป่าบง ถือว่าการทอผ้าเพื่อถวายทานในพิธีกรรมและประเพณี เป็นการสั่งสมบุญครั้งยิ่งใหญ่ในชีวิต ก่อให้เกิดความวิริยะอุตสาหะในการสั่งสมบุญ และเป็นแหล่งเรียนรู้ความเป็นวิถีชีวิตและเป็นการอนุรักษ์ไว้ซึ่งภูมิปัญญา และวิถีการทอผ้าของบรรพชนไว้

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

จิราวรรณ กาวิละ โอคาโมโตะ, แพทรีเซีย ชีสแมน, ทรงศักดิ์ ปรางค์วัฒนากุล. (2539).

สุนทรีย์แห่งลีลา ผืนผ้าแพรพรรณพินิจผ้าชิ้นเด่นของพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงาน. เชียงใหม่: บริษัท นพบุรีการพิมพ์ จำกัด.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 11. คณะศรัทธาร่วมกันจัดพิมพ์เป็นธรรมทาน.

พระมหาภูษิต อิสฺสรเมโธ. (2554). สุธีรานุสรณ์ พระครูถาวรธรรมสุธี จต.ชอ. เชียงใหม่ : แม็กซ์พริ้นติ้ง.

มณี พยอมยงค์. (2547). ประเพณีสิบสองเดือนล้านนาไทย. เชียงใหม่ : โรงพิมพ์ ส.ทรัพย์การพิมพ์.

วิถี พานิชพันธ์. (2547). ผ้าและสิ่งถักทอไท. กรุงเทพมหานคร : โอ. เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

สำนักงานกระประถมศึกษาอำเภอดอยสะเก็ด. (2537). ดอยสะเก็ด : ร่อยรอยอารยธรรมสิบสองพันนา. เชียงใหม่: โรงพิมพ์อักษร คอมส์ พรินท์.

พระอัษฎากรณ์ กิตฺติภทฺโท (ฉัตรนันท์). (2555). การศึกษารูปแบบและความเชื่อเรื่องผ้าทอที่ใช้ในพระพุทธศาสนาของชาวไทลื้อเชียงคำ จังหวัดพะเยา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-24