การพัฒนาเครือข่ายแหล่งท่องเที่ยววิถีศิลป์บนเส้นทางบ้านศิลปินล้านนา
คำสำคัญ:
เครือข่าย, เส้นทางการท่องเที่ยว, ศิลปินบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มี วัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนาเส้นทางแหล่งท่องเที่ยวทางศิลปะของบ้านศิลปิน 2) เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพและความพร้อมในการพัฒนาบ้านศิลปินเป็นแหล่งเส้นทางท่องเที่ยว และ 3) เพื่อพัฒนาเครือข่ายแหล่งท่องเที่ยววิถีศิลป์บนเส้นทางของบ้านศิลปินล้านนา โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) กับกลุ่มเป้าหมาย คือ บ้านศิลปินในจังหวัดเชียงราย จำนวน 15 แห่ง
ผลการวิจัยพบว่า เส้นทางแหล่งท่องเที่ยวทางศิลปะของบ้านศิลปิน มี 3 เส้นทาง 15 บ้านศิลปิน ดังนี้ 1) เส้นทางหอศิลป์เวียงเชียงราย-เวียงชัย 2) เส้นทางหอศิลป์แม่ลาว-พาน และ 3) เส้นทางหอศิลป์แม่จัน-แม่สาย-เชียงแสน จากการพัฒนาเครือข่ายแหล่งท่องเที่ยววิถีศิลป์บนเส้นทางบ้านศิลปินล้านนาได้ก่อให้เกิดกิจกรรม ìเปิดบ้านศิลปินเชียงรายî จำนวน 30 หลัง 1 หอศิลปะ และวัฒนธรรมอำเภอ เพื่อการท่องเที่ยวและส่งเสริมภาพลักษณ์ ìเชียงรายเมืองศิลปะอย่างยั่งยืนî และการจัดทำเป็นแอปพลิเคชั่นบ้านศิลปินศักยภาพในการพัฒนาบ้านศิลปินเป็นแหล่งเส้นทางท่องเที่ยว มี 3 ด้าน คือ 1) ศักยภาพด้านศิลปิน 2) ศักยภาพด้านแหล่งเรียนรู้ และ 3) ศักยภาพด้านสิ่งอำนวยความสะดวก, การพัฒนาความพร้อมของบ้านศิลปิน มี 5 ด้าน คือ 1) ความพร้อมด้านงบประมาณ 2) ความพร้อมด้านสถานที่ 3) ความพร้อมด้านเส้นทาง 4) ความพร้อมด้านศิลปิน 5) ความพร้อมด้านนักท่องเที่ยวการพัฒนาเครือข่ายแหล่งท่องเที่ยววิถีศิลป์บนเส้นทางของบ้านศิลปินล้านนาของจังหวัดเชียงราย มี 5 ประการ คือ 1) การดำเนินกิจกรรมของเครือข่ายให้มีความต่อเนื่อง 2) ความร่วมมือและการสนับสนุนจากหลายฝ่าย 3) การพัฒนาฐานข้อมูลเครือข่ายที่ทันสมัย 4) ความพร้อมของกลุ่มศิลปินภายในเครือข่าย และ 5)การสร้างความร่วมมือกับเครือข่ายภายนอก
References
พระครูวิมลศิลปกิจ (เรืองฤทธิ์ แก้วเปียง). เชียงรายเมืองแห่งศิลปะ. สารนิพนธ์พุทธศาสตรบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พลวัฒ ประพัฒน์ทอง. (2557). เชียงรายเมืองศิลปิน : การพัฒนาเมืองด้วยชุมชนศิลปินที่พำนักถาวรในเชียงราย. รายงานวิจัย.
กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว).
ศรีสุคล พรมโส และ ซิสิกกา วรรณจันทร์. แนวทางการพัฒนาบ้านศิลปินแห่งชาติให้เป็นแหล่งเรียนรู้ทางด้านศิลปะและวัฒนธรรม. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 10(1): 172.
ณัฐกานต์ กันธิ. (2555). มะจิสุคุริ (Machitsukuri) กับการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว: กรณีศึกษา การพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในจังหวัดโออิตะ ประเทศญี่ปุ่น. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ปิยพร อรุณเกรียงไกร. (7 มิถุนายน 2556). Creative Knowledge . https://hr.tcdc.or.th/en/Articles/Detail/NAOSHIMA. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2562.