แนวทางพัฒนาการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขาของโรงเรียนระดับประถมศึกษา ศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษา ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • พระครูมนูญธรรมทัต มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา

คำสำคัญ:

แนวทางพัฒนา, การเรียนรู้, หลักไตรสิกขา, โรงเรียนระดับประถมศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขา ของโรงเรียนระดับประถมศึกษา ศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษา ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรค ในการจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขา และ 3) เพื่อแสวงหาแนวทางการพัฒนาการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขา งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลคือแบบสัมภาษณ์เชิงลึกจำนวน 3 โรงเรียน แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์เชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า 1) สถานศึกษามีนโยบายการจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขา ด้านการบริหารจัดการในด้านบุคลากร ด้านระบบบริหาร ด้านอาคารสถานที่ บรรยากาศห้องเรียน มีแหล่งเรียนรู้   สภาพแวดล้อมเหมาะสม ปลอดภัย ด้านหลักสูตรสถานศึกษา มีการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน มีการจัดทำโครงการ และ ด้านคุณครูทำตนเป็นตัวอย่างที่ดี สร้างศรัทธาค่านิยมปฏิบัติดีปฏิบัติชอบครูมีการ ศึกษาหลักสูตร หน่วยการเรียน และแผนการจัดการเรียนรู้ เป็นกัลยาณมิตรของผู้เรียน มีเมตตาธรรม อดทน อดกลั้นและสร้างเสริมกำลังใจแก่ผู้เรียนอยู่

2) ปัญหาอุปสรรค พบว่า สื่อเทคโนโลยี โทรศัพท์มือถือ อินเตอร์เน็ท ทำให้เด็กติดสื่อ ไม่ค่อยมีสมาธิ 

3) แนวทางในการพัฒนาการเรียนรู้ พบว่า ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษา ต้องมาทำแผนร่วมกันในการพัฒนาผู้เรียนให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา รวมถึงการกำหนดโครงการ กิจกรรม เป้าหมาย ตัวชี้วัดความสำเร็จร่วมกันโรงเรียน ผู้ปกครอง วัด ชุมชน เข้ามาใช้ชีวิต กิน อยู่ ดู ฟัง ทำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในการพัฒนาผู้เรียนร่วมกัน ครูต้องจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ในเรื่องการพูดจา ไพเราะ อ่อนหวาน สุภาพอ่อนโยน รู้จักกาลเทศะ สอนเรื่องเหตุผลให้เด็กรู้จักคิดแยกแยะให้มากขึ้น

References

กรมวิชาการ. (2548). คู่มือการสร้างค่านิยมคุณธรรม จริยธรรม และวินัยระดับประถมศึกษา.กระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพมหานคร : คุรุสภา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภา.

คณะกรรมการพัฒนานวัตกรรมการศึกษา. (2556). กรอบแนวคิดรูปแบบโรงเรียนวิถีพุทธ. สืบค้น 16 มีนาคม 2561. จาก https://www.vitheebuddha.com.

พระครูวีรญาณสุนทร. (2554). การพัฒนามนุษย์ตามหลักไตรสิกขา : กรณีศึกษาวัดตากฟ้า อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต). (2546). การศึกษาเครื่องมือพัฒนาที่ยังต้องพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: สหธรรมิก.

พระมหาสุริยา โอภาโส. (2554). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนววิถีพุทธ (ไตรสิกขา) เพื่อพัฒนาคุณธรรมด้านความมีวินัยและความรับผิดชอบในตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนจุลสมัยสงขลา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

พระรัชเวธน์ เตชวณฺโณ. (2558). การจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขาในโรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (ทวีวัฒนา) ในพระราชูปถัมภ์ฯ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 กรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-26