วิเคราะห์บทบาทในการบำรุงพระพุทธศาสนาของอุบาสกอุบาสิกา: กรณีศึกษา ตำบลลำปางหลวง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • พระกิตติพันธ์ กิตฺติพโล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • พระอำนาจ พุทธอาสน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • พระปลัดสถิตย์ โพธิญาโณ (โพธิ์หล้า) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่

คำสำคัญ:

วิเคราะห์, บทบาทในการบำรุงพระพุทธศาสนา, อุบาสกอุบาสิกา

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาบทบาทของอุบาสก อุบาสิกาในการบำรุงพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาแนวทางในการส่งเสริมกิจกรรมเพื่อการบำรุงพระพุทธศาสนา ของอุบาสก อุบาสิกา 3) เพื่อวิเคราะห์บทบาท ในการบำรุงพระพุทธศาสนาของอุบาสก อุบาสิกา ตำบลลำปางหลวง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง  เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ  เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก

ผลการวิจัยพบว่า 1) บทบาทของอุบาสก อุบาสิกาในการบำรุงพระพุทธศาสนา ในสมัยพุทธกาล มีอุบาสกอุบาสิกาหลายคนได้รับการยกย่องเป็นเอตทัคคะ  ในด้านการบำรุงพระพุทธศาสนา ให้การอุปถัมภ์พระสงฆ์ เช่น  อุปถัมภ์ด้วยอาหาร  เครื่องนุ่งห่ม  เครื่องอุปโภคและยารักษาโรค,  ในการดำรงรักษาพระพุทธศาสนา  ช่วยส่งเสริมและรักษาพระพุทธศาสนาให้เจริญมั่นคงยิ่งขึ้น และ ในด้านช่วยเหลือสังคม เป็นผู้ที่มีบทบาทโดยตรง เช่น การตั้งโรงทาน การทำสาธารณสงเคราะห์  ส่วนบทบาททางอ้อม คือ การอุปถัมภ์พระสงฆ์ในการทำหน้าที่เผยแผ่พระพุทธศาสนา และทำประโยชน์เพื่อสังคม 2) อุบาสก อุบาสิกา ในตำบลลำปางหลวง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง  มีแนวทางในการทำกิจกรรม เพื่อการบำรุงพระพุทธศาสนา โดยให้ความอุปถัมภ์พระสงฆ์ ในกิจกรรมการปฏิบัติธรรม การแสดงธรรม การปกป้องพระพุทธศาสนา และให้การช่วยเหลือสังคมที่ไม่น้อยกว่าในสมัยพุทธกาล เช่น การจัดตั้งองค์กร มูลนิธิ ชมรม และศูนย์การช่วยเหลือผู้ประสบภัยต่าง ๆ เป็นต้น 3) เมื่อวิเคราะห์บทบาทดังกล่าว ย่อมชี้ให้เห็นว่า อุบาสก อุบาสิกา ตำบลลำปางหลวง อำเภอเกาะคา ในปัจจุบัน ได้ให้การช่วยเหลือสังคมเพิ่มมากขึ้น   ให้การอุปถัมภ์และช่วยธำรงพระพุทธศาสนาให้มีความมั่นคง โดยการช่วยเผยแผ่คำสอน ชักนำคนได้เข้าวัดฟังธรรม และทำกิจกรรมต่าง ๆ ทางพระพุทธศาสนา

References

โกวิทย์ พวงงาม. (2553). การจัดการตนเองของชุมชน. กรุงเทพมหานคร: เอ็กเปอเน็ต.
ตรีรัตน์ ปิ่นประยงค์. (2549). “การศึกษาบทบาทของอุบาสก-อุบาสิกา ในการบำรุงพระพุทธศาสนา ศึกษา
เฉพาะกรณี การบำรุงพระพุทธศาสนาของผู้ปฏิบัติงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย สายงาน
ธุรกิจระบบส่ง”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2535) พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ 2500. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2535).พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาถวิล เตชะคำ. (2540). “อุบาสกในพระไตรปิฎก”. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขา
ศาสนาเปรียบเทียบ. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระมหาจิตรกร นาถปุญฺโญ (ตาทลา). (2548). “ศึกษาวิเคราะห์บทบาทของปู่อาจารย์ในการส่งเสริมกิจกรรม
ทางพระพุทธศาสนา : ศึกษาเฉพาะกรณีอำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต), 2545. ภัยแห่งพระพุทธศาสนาในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิพุทธ
ธรรม,

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-24