ปัญญาสชาดกฉบับเชียงใหม่ เรื่องที่ 21 – 30 : การปริวรรต การแปล และการศึกษาเปรียบเทียบ
คำสำคัญ:
ปัญญาสชาดก, การปริวรรต, การแปล, การศึกษาเปรียบเทียบ, เชียงใหม่บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่อง “ปัญญาสชาดกฉบับเชียงใหม่ เรื่องที่ 21-30 : การปริวรรต การแปล และการศึกษาเปรียบเทียบ” มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อปริวรรตและแปลปัญญาสชาดกฉบับเชียงใหม่ หรือซิมเมปัณณาสชาดก เรื่องที่ 21-30 ฉบับบาลีอักษรโรมันเป็นบาลีอักษรไทย 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบปัญญาสชาดกฉบับเชียงใหม่ เรื่องที่ 21-30 กับฉบับไทยของกรมศิลปากร ฉบับหอสมุดแห่งชาติ สำนักพิมพ์ศิลปาบรรณาคาร และฉบับล้านนา ปริวรรตโดย พิชิต อัคนิจ ด้านตัวละคร สำนวนภาษา ลีลาการแต่ง งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร โดยนำเสนอผลการวิจัยเชิงพรรณนา
ปัญญาสชาดกฉบับเชียงใหม่ เรื่องที่ 21-30 ผู้วิจัยได้ทำการปริวรรตจากบาลีอักษรโรมันเป็นบาลีอักษรไทย หลังจากได้ทำการปริวรรต ตรวจชำระ และแปลแล้ว จึงได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบกับฉบับหอสมุดแห่งชาติและฉบับล้านนา ด้านตัวละคร สำนวนภาษา และลีลาการแต่ง ด้านตัวละครมีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย ฉบับเชียงใหม่ใช้สำนวนภาษาที่เป็นบาลีล้วน ฉบับหอสมุดแห่งชาติใช้สำนวนภาษาบาลีเหมือนกับฉบับเชียงใหม่ แตกต่างกันที่ยกเฉพาะภาษาบาลีมาเพียงประโยคสั้น ๆ นอกนั้นใช้สำนวนภาษาไทยดำเนินเนื้อเรื่องไปจนจบ ฉบับล้านนานั้น ได้ใช้สำนวนภาษาบาลีและแปลเป็นภาษาถิ่นล้านนา ลีลาการแต่ง ฉบับเชียงใหม่เป็นการแต่งในรูปประโยคแบบง่าย ๆ ไม่สลับซับซ้อน ฉบับหอสมุดแห่งชาติมีการแต่งรูปประโยคที่เป็นภาษาบาลีเหมือนกับฉบับเชียงใหม่ ต่างกันตรงที่เดินเรื่องด้วยภาษาบาลีเพียงประโยคต้นเรื่องเท่านั้น ส่วนฉบับล้านนาเป็นการแต่งการดำเนินเนื้อเรื่องเหมือนกับฉบับเชียงใหม่และฉบับหอสมุดแห่งชาติ แตกต่างกันเฉพาะการแปลเป็นภาษาไทย ซึ่งฉบับล้านนาแปลยกศัพท์ตลอดจนจบเรื่อง โดยใช้สำนวนภาษาถิ่นล้านนา นับว่าเป็นลีลาการแต่งที่ต่างจากชาดกฉบับเชียงใหม่และฉบับหอสมุดแห่งชาติอย่างชัดเจน
References
กรมศิลปากร. (2552). ปัญญาสชาดก : ฉบับหอสมุดแห่งชาติ ภาค 1. พิมพ์ในงานออกเมรุพระราชทานเพลิงศพพระธรรมสิทธาจารย์ (หนู ถาวโร ป.ธ.5) อดีตเจ้าอาวาสวัดพระสิงห์วรมหาวิหาร อดีตที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ โดย คณะสงฆ์หนเหนือ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: อาทรการพิมพ์.
นิยะดา เหล่าสุนทร. (2538). ปัญญาสชาดก : ประวัติและความสำคัญที่มีต่อวรรณกรรมร้อยกรองของไทย. กรุงเทพมหานคร: แม่คำผาง.
นิยะดา เหล่าสุนทร. (2538). ปัญญาสชาดก: ประวัติและความสำคัญที่มีต่อวรรณกรรมร้อยกรองของไทย. กรุงเทพมหานคร: แม่คำผาง.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2550). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพมหานคร : เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์ จำกัด.
พระมหาปรีชา มโหสโถ (เส็งจีน). (2547). “อิทธิพลของวรรณคดีบาลีเรื่องปัญญาสชาดกที่มีต่อสังคมไทย”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหามานะ มุนิวํโส (กลมกลาง). (2546).“ปัญญาสชาดกเรื่องที่ 1-7 : การตรวจชำระและศึกษาเชิงวิเคราะห์”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พราวพรรณ ฟองกระจาย. (2544). “การศึกษาเปรียบเทียบนิทานคอนจาคุกับปัญญาสชาดก”. วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พัฒน์ เพ็งผลา (2530). ชาดกกับวรรณกรรมไทย. กรุงเทพมหานคร: คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
พิชิต อัคนิจ และคณะ. (2541). ปริวรรตและศึกษาวิเคราะห์ปัญญาสชาดกฉบับล้านนาไทย. เชียงใหม่ : คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สุภณิดา เชื้ออินต๊ะ. (2544) “การศึกษาเชิงวิเคราะห์บทบาทของพระอินทร์ในปัญญาสชาดกฉบับล้านนา”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุภาพรรณ ณ บางช้าง. (2533). วิวัฒนาการวรรณคดีบาลีสายพระสุตตันตปิฎกที่แต่งในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.