การประยุกต์ใช้หลักโหราศาสตร์ตามแนวพระพุทธศาสนา

ผู้แต่ง

  • พระครูสุภัทรวชิรานุกูล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • พูนชัย ปันธิยะ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • เทพประวิณ จันทร์แรง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • เยื้อง ปั้นเหน่งเพ็ชร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่

คำสำคัญ:

โหราศาสตร์, พระพุทธศาสนา, การประยุกต์ใช้

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์  3  ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาที่มาของโหราศาสตร์และคำสอนของพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้องกับโหราศาสตร์ 2) เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้คำสอนทางพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้องกับหลักโหราศาสตร์ และ 3) เพื่อวิเคราะห์การนำหลักคำสอนพระพุทธศาสนาในการประยุกต์ใช้กับหลักโหราศาสตร์ของโหราจารย์

ผลการวิจัยพบว่า วิชาโหราศาสตร์ไทยได้รับอิทธิพลมาจากวิชาโหราศาสตร์อินเดียโบราณ ในพระไตรปิฎกมีเรื่องราวเกี่ยวกับเรื่องโหราศาสตร์ปรากฏในหลายแห่ง ในพระพุทธศาสนาไม่ได้สอนให้เชื่อในโหราศาสตร์ พระพุทธเจ้าทรงห้ามนำมาใช้ในการทำนายทายทัก แต่มีพุทธานุญาตให้พระภิกษุเรียนนักษัตรเพื่อประโยชน์ในการสวดพระปาฏิโมกข์ และบอกกล่าวประชาชนในเรื่องวันเวลา อย่างไรก็ตาม การทำหน้าที่โหราจารย์ของพระสงฆ์เป็นอีกหนึ่งบทบาทในการสั่งสอนและเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสังคมไทย

การประยุกต์ใช้คำสอนทางพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้องกับหลักโหราศาสตร์ พบว่า โหราจารย์ใช้หลักโหราศาสตร์ผสมผสานหลายสาขา และประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมและหลักจิตวิทยาประกอบการทำนาย เช่น กฎแห่งกรรม ศรัทธา 4 กาลามสูตร กุศลกรรม อกุศลกรรม ปฏิจจสมุปบาท การใช้หลักกัลยาณมิตรและพรหมวิหาร 4 เพื่อให้การสงเคราะห์และแนะนำให้ผู้รับคำทำนายปฏิบัติตนในเรื่องการให้ทาน รักษาศีล และเจริญภาวนา

การนำหลักคำสอนพระพุทธศาสนาในการประยุกต์ใช้กับหลักโหราศาสตร์ของโหราจารย์พบว่า การแนะนำใช้ประชาชนเลี้ยงชีพที่สุจริต ดำเนินชีวิตโดยไม่ประมาท คุณค่าของโหราศาสตร์ ได้แก่ การวางแผนการดำเนินชีวิต การสร้างขวัญกำลังใจ การให้คำปรึกษา การเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจ และประโยชน์ของวิชาโหราศาสตร์ คือ การทำให้มีความเข้าใจตนเองและผู้อื่น การดำรงชีพอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม ความเข้าใจเรื่องกฎแห่งกรรม และความเพียรพยายามด้วยตนเอง

References

กฤติกาวลัย หิรัญสิ. (2554). ศึกษาความสอดคล้องของหลักการพยากรณ์ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาทและวิชาโหราศาสตร์ไทย.

วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ณัชชา ชินธิป. (2548). โหราศาสตร์กับการตัดสินใจทางธุรกิจ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี.

เทพย์ สาริกบุตร. (2511). โหราศาสตร์ปริทรรศน์ ภาค 1. กรุงเทพมหานคร: เกษมบรรณกิจ.

ประพันธ์ เตละกุล. (2543). ดาราศาสตร์และอวกาศ. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช.

ประยูร พลอารีย์. (2521). คัมภีร์สูตรพระเคราะห์สนธิ. กรุงเทพมหานคร: โรงเรียนโหราศาสตร์กรุงเทพ.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพมหานคร: ธนธัชการพิมพ์.

พระมหาทวีศักดิ์ ใครบุตร. (2544). ติรัจฉานวิชชา : ศึกษาเชิงวิเคราะห์ทัศนะและแนวปฏิบัติในสังคมไทย.วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มานพ นักการเรียน. (2554). พระพุทธศาสนากับความเชื่อเรื่องโหราศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ยอดธง ทับทิวไม้. (2537). โหราศาสตร์ เศรษฐกิจและการเมือง. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์เดลฟี่.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542. กรุงเทพมหานคร: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่น.

ราตรี ปิ่นแก้ว. (2545). หมอดูออนไลน์: การสื่อสารความเชื่อโหราศาสตร์ผ่านสื่ออินเทอร์เน็ต. วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

รินญา นภาศัพท์. (2551). พุทธศาสนากับโหราศาสตร์. รายงานวิจัย. วิทยาลัยศาสนศึกษา:มหาวิทยาลัยมหิดล.

วณฤดี วิวัชภูร. (2554). พฤติกรรมความเชื่อของชาวพุทธที่สนใจโหราศาสตร์ที่มีต่อหลักโหราศาสตร์และหลักศรัทธา 4. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วัชพร ทุมมานนท์. (2554). การประยุกต์หลักพุทธสันติวิธีในการพยากรณ์ของนักโหราศาสตร์ไทย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจ. 4(ฉบับพิเศษ), 196-208.

สิริ ศุภผล. (2560). การประยุกต์ใช้หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาในวิชาโหราศาสตร์ : ศึกษากรณีพระมหาณรงค์ นราสโภ วัดสุทัศนเทพวรารามวรมหาวิหารกรุงเทพมหานคร. วารสาร มจร.อุบลปริทรรศน์. 2(1), 150-160.

หลวงอรรถวาทีธรรมประวรรต (วิเชียร จันทน์หอม). (2516). โหราศาสตร์นิเทศ. พิมพ์ครั้งที่ 2. พระนคร: โรงพิมพ์รุ่งวัฒนา.

อชิรพจณิชา พลายนาค. (2553). การใช้โหราศาสตร์เป็นวิถีทางในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต. คณะอักษรศาสตร์: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เอื้อน มณเฑียรทอง. (2561). พระคัมภีร์โหราศาสตร์ศิลปาคม ภาค 1. พระนคร: กรุงสยามการพิมพ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-24