การพัฒนาคู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบ ตามแนวคิดการฝึกเชิงพุทธิปัญญาสำหรับนักเรียนเจ็บป่วยเรื้อรัง : กรณีศึกษานักเรียนเจ็บป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์

ผู้แต่ง

  • สุรชัย พุทธรักษาจริยา วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ศานิตย์ ศรีคุณ มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

กิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์, นักเรียนเจ็บป่วยเรื้อรัง, กรณีศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาคู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องการบวกและการลบ ตามแนวคิดการฝึกเชิงพุทธิปัญญาสำหรับนักเรียนเจ็บป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาล 2) เพื่อศึกษาผลการใช้คู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องการบวกและการลบ ตามแนวคิดการฝึกเชิงพุทธิปัญญาของนักเรียนเจ็บป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาล ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบกรณีศึกษา กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนเจ็บป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ จำนวน 3 คน โดยใช้แบบแผนการวิจัยกรณีศึกษา 3 กรณี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย คู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องการบวกและการลบ ตามแนวคิดการฝึกเชิงพุทธิปัญญาของนักเรียนเจ็บป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพแบบกรณีศึกษา

ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนเจ็บป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาลที่ได้รับการจัดกิจกรรมโดยใช้คู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องการบวกและการลบ ตามแนวคิดการฝึกเชิงพุทธิปัญญา สามารถเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องการบวกและการลบได้ ทำแบบฝึกหัดเรื่องการบวกและการลบเสร็จตามที่กำหนดให้และสามารถทำแบบฝึกหัดได้อย่างถูกต้อง

 

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ขจรศักดิ์ บัวระพันธ์. (2554). วิจัยเชิงคุณภาพ สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้มหาวิทยาลัยมหิดล จังหวัดนครปฐม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์บริษัท คอมม่าดีไซน์แอนด์พริ้นท์ จำกัด.

ชวิศา กลิ่นจันทร์. (2557). การพัฒนาชุดกิจกรรมคณิตศาสตร์ตามแนวคิดของบลูม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ชาย โพธิสิตา. (2552). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พุทธศักราช 2551. (5 กุมภาพันธ์ 2551). ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 125 ตอนที่ 28 ก. สืบค้น 18 มีนาคม 2563. https://rb.gy/sezwmj.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พุทธศักราช 2553. (22 กรกฎาคม 2553). ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 127 ตอนที่ 45 ก. สืบค้น 18 มีนาคม 2563. https://rb.gy/rtypkr.

ภัทรวรรณ สวนนันท์ และ สุการต์พิชา ปิยะธรรมวรากุล. (2562). การพัฒนาสมาธิสำหรับเด็กเจ็บป่วยเรื้อรังโรงพยาบาลชลบุรีโดยใช้กิจกรรมงานประดิษฐ์. วารสารศิลปะการจัดการ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. (3)1, 8.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (6 เมษายน 2560). ราชกิจจานุเบิกษา เล่ม 134 ตอนที่ 40 สืบค้น 18 มีนาคม 2563. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/ 040/1.PDF.

สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). คู่มือการดำเนินงานศูนย์การเรียนสำหรับเด็กเจ็บป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาล.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560). กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

Cohen, Manion and Morrison. (2000). Research Methods in Education. New York: Routledge Falmer.

Harden and Stamper. (1999). The curriculum of Universiti Sains Malaysia in terms of Harden’s 10 questions of curriculum development. Journal of Medical Education. 5 (2), 3-8.

Miles and Huberman. (1994). Qualitative data analysis: An expanded sourcebook (2nd ed.). Sage: Publications Inc.

Organisation for Economic Co-Operation and Development (OECD). (2014). Economic Outlook for Southeast Asia. Chiana and India 2014: Beyond the Middle Income Gap. n.d.

Stake. (2000). The Art of Case Study Research. Thousand Oaks. CA: Sage.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-28