ศึกษาเชิงวิเคราะห์หลักพุทธธรรมที่ปรากฏในธรรมนิยายเรื่องลีลาวดี

ผู้แต่ง

  • พระณัฐวุฒิ มหาวิริโย (ก้อนจา) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
  • โผน นามณี มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
  • ทรงศักดิ์ พรมดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่

คำสำคัญ:

หลักพุทธธรรม, ลีลาวดี, ธรรมนิยาย

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสารัตถะของธรรมนิยายเรื่องลีลาวดี 2) เพื่อศึกษาสารัตถะธรรมที่ปรากฏในธรรมนิยายเรื่องลีลาวดี และ 3) เพื่อศึกษาคุณค่าของหลักพุทธธรรมที่ปรากฏในธรรมนิยายเรื่องลีลาวดี เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร โดยศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ขอบเขตด้านเนื้อหา ได้แก่ ระบบวรรณะ 4 กฎแห่งกรรม ความตาย การเวียนว่ายตายเกิด ความรัก และคุณค่าของพุทธธรรมที่ปรากฏในธรรมนิยายเรื่องลีลาวดี โดยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา

ผลวิจัยพบว่า 1) ธรรมนิยายเรื่องลีลาวดี กล่าวถึงเรื่องราวอิงประวัติศาสตร์ในสมัยพุทธกาล อันมีการดำเนินเรื่องราวผ่านตัวละครเอกคือ พระเรวัตตะและลีลาวดี ผูกเรื่องราวจากความรักและอุปสรรคจากความแตกต่างของชนชั้นวรรณะ เป็นนวนิยายที่สอดแทรกคำสอน สะท้อนถึงหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาและนิพพาน  ผ่านตัวละคร ด้วยการบรรยายเชิงพรรณา เทศนาและอุปมาโวหาร 2) หลักพุทธธรรมที่ปรากฏในธรรมนิยายเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตนของมนุษย์ต่อสังคม เช่น ความรักความเมตตา ความกตัญญูความเสียสละ กัลยาณมิตร และหลักพุทธธรรม หมวดอื่นๆ  เช่น ขันธ์ 5 สติปัฏฐาน 4 ไตรลักษณ์และปฏิจจสมุปบาท 3) คุณค่าของหลักพุทธธรรมที่ปรากฏ เป็นการให้ความรู้ทั้งต่อผู้อ่านเองและการปฏิบัติต่อผู้อื่น สะท้อนถึงความเชื่อเกี่ยวกับการเวียนว่ายตายเกิดและหลักกรรม ที่ให้ผู้อ่านได้รับความเพลิดเพลินในรสวรรณกรรมและหลักการดำเนินชีวิต

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

คณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2559). งานวิจัยและวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา ฉบับปรับปรุง. พิมพ์ครั้งที่ 2. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ธรรมโฆษ. (2553). ลีลาวดี ภาค 1. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

ธรรมโฆษ. (2553). ลีลาวดี ภาค 2. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราช วิทยาลัย.

ธรรมโฆษ. (2553). ลีลาวดี ภาค 3. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2555). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. พิมพ์ครั้งที่ 32. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

ฟื้น ดอกบัว. (2545). ปวงปรัญญาอินเดีย. กรุงเทพมหานคร: ศยาม.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2547). วิสุทธิมรรคแปล ภาค 2 ตอน 1. กรุงเทพมหานคร: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

วศิน อินทสระ. (2548). หลักธรรมอันเป็นหัวใจพระพุทธศาสนา. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: ธรรมดา.

ทิพย์วารี เทียมชัยภูมิ. (2546). การศึกษาเชิงวิเคราะห์วรรณกรรมอิงพระพุทธศาสนา : ศึกษาเฉพาะกรณี เรื่องลีลาวดี. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระเฉลิมชาติ ชาติวโร (อินธะรงค์). (2551). ศึกษาวิเคราะห์การพัฒนาการของการศึกษาคณะสงฆ์ไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระไพศาล จนฺทธมฺโม (วงศ์ภูงา) พระมหาสำรอง สญฺญโต และธีระพงษ์ มีไธสง. 2562. วิเคราะห์กรรมและการ ให้ผลกรรมในจูฬกัมมวิภังคสูตร. ธรรมนิเทศ. 19 (11), 87-88.

พระมหาธนกร กิตฺติปญฺโญ (สร้อยศรี). 2562. อิทธิพลจริยธรรมแนวพุทธจริยธรรมต่อจริยธรรมในไตรภูมิพระร่วง. วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์. 7 (1), 323.

วิบูลย์พงศ์ พันธุนนท์. 2562. แนวคิดเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดกับพุทธปรัชญา. พุทธศาสตร์ปริทรรศน์. 3 (2), 34-35.

อุดมพร ชั้นไพบูลย์. 2556. ความตายในมิติพระพุทธศาสนา. สถาบันวิจัยญาณสังวร. 2 (4), 60-68.

อุทัย กมลศิลป์ และคนอื่นๆ. 2562. การศึกษาวิเคราะห์กระบวนการเวียนว่ายตายเกิดในพระพุทธศาสนาเถรวาท. บัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น. 6 (3), 23-24.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-24