ศึกษาวิเคราะห์แนวคิดมนุษย์ของฌอง ฌาคส์ รุสโซ
คำสำคัญ:
แนวคิด, มนุษย์, ฌอง ฌาคส์ รุสโซบทคัดย่อ
งานวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องมนุษย์ในทัศนะทางปรัชญาตะวันตก 2) เพื่อศึกษาแนวคิดมนุษย์ในทัศนะของฌอง ฌาคส์ รุสโซ 3) เพื่อวิเคราะห์แนวคิดมนุษย์ตามทัศนะของฌอง ฌาคส์ รุสโซ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่า แนวคิดมนุษย์ของปรัชญาตะวันตกนั้นสามารถแบ่งออกเป็น 3 ยุค คือ 1) ยุคกรีก ซึ่งยุคนี้มองว่ามนุษย์ คือ ผู้รู้ รู้จักกำหนดหรือบัญญัติสิ่งต่างๆ เช่น ความดี ความชั่ว ซึ่งความรู้นั้นมนุษย์ได้มาจากการศึกษาเล่าเรียนมา 2) ยุคกลาง มองว่า มนุษย์ คือ ผลิตของพระผู้เป็นเจ้า ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไปตามความประสงค์ของพระเจ้า เมื่อทุกอย่างลิขิลไว้ด้วยน้ำมือของของพระเจ้าแล้ว มนุษย์ต้องมีความเคารพศรัทธาต่อพระเจ้า เพื่อให้ตนได้หลุดพ้นจากความทุกข์เหล่านั้น 3) ยุคสมัยใหม่ มองว่า มนุษย์ คือ สัตว์ที่มีเสรีภาพ มีเจตจำนงค์เป็นของตัวเอง
References
ใจรัตน์ จตุรภัทรพร. (2541). มนุษย์ในทรรศนะของปรัชญามนุษย์นิยมใหม่. วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. วิทย์วิศทเวทย์. (2521). ปรัชญา. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช จำกัด.
สิทธิ์ บุตรอินทร์. (2554). ปรัชญาเปรียบเทียบมนุษย์ตะวันออกกับตะวันตก. กรุงเทพมหานคร: สร้างสรรค์บุ๊คส์.
Jean Jacques Rousseau. (2555). แปลโดย เตียง ศิริขันธ์. Emile. ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โฆษิต.
Jean Jacques Rousseau. (2555). แปลโดย ศุภชัย ศุภผล. ความเรียงว่าด้วยต้นกำเนิดและรากฐานแห่งความไม่เท่าเทียมกันของมนุษย์ชาติ. กรุงเทพมหานคร : สยามปริทัศน์ จำกัด.
Jean Jacques Rousseau. (2558). แปลโดย ศุภชัย ศุภผล, ปาลิตา จุนแสงจันทร์. ความเรียงว่าด้วยเศรษฐกิจการเมือง.กรุงเทพมหานคร: วิคตอรี่.
Jean Jacques Rousseau. (1996). The confessions. by Derek Matravers. Wordsworth Editions Limited.
Jean Jacques Rousseau. (1998). The social contract, Translation by H.J.Tozer, Wordsworth Editions Limited.