แนวทางส่งเสริมการปฏิบัติธรรมของชาวต่างชาติที่ วัดร่ำเปิง (ตโปทาราม) ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • นางสาวอภิญญา ชูตระกูล คณะพุทธศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏ วิทยาเขตล้านนา
  • อุเทน ลาพิงค์ มหาวิทยาลัย มหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
  • พระครูสมุห์ธนโชติ จิรธมฺโม มหาวิทยาลัย มหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา

คำสำคัญ:

แนวทางส่งเสริม, การปฏิบัติธรรม, ชาวต่างชาติ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษารูปแบบการปฏิบัติธรรม
2) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติธรรมของชาวต่างชาติ 3) เพื่อหาแนวทางส่งเสริมการปฏิบัติธรรมของชาวต่างชาติ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจง จำนวน 15 คน ประกอบไปด้วยวิปัสสนาจารย์จำนวน 5 รูป และชาวต่างชาติหลากหลายเชื้อชาติที่ได้มาปฏิบัติธรรม 10 คน

ผลการวิจัยพบว่า:

1) วัดร่ำเปิงใช้รูปแบบในการสอนการปฏิบัติธรรมตามหลักสติปฐาน 4 มีหุ่นช่วยในการ สอนและใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก ไม่อนุญาตให้ผู้ปฏิบัติธรรมพูดคุยกันมุ่งเน้นการสอนปฏิบัติด้วยตนเองเป็นหลัก

2) ผู้ปฏิบัติธรรมเน้นการปฏิบัติด้วยตนเองเป็นการช่วยผ่อนคลายทางอารมณ์ ความคิด ความรู้สึก โดยมีพระวิปัสสนาจารย์คอยชี้แนะและสอบอารมณ์ แต่มีปัญหาด้านการใช้ภาษาในการสื่อสาร

3) แนวทางการส่งเสริมการปฏิบัติธรรม  โดยจากสภาพแวดล้อมทั้งที่อยู่อาศัย, อาหาร, และอุปกรณ์ ที่ในชีวิตประจำวัน ให้สอดคล้องกับผู้ปฏิบัติและวิธีสอน โดยการอธิบาย สาธิต และสรุป ก่อน ระหว่าง และหลังการปฏิบัติธรรม

References

นรวัฒน์ เจริญรัชต์ภาคย์ และสุดาวรรณ สมใจ. รูปแบบการปฏิบัติธรรม การบริหารจัดการ และ ลักษณะสถานปฏิบัติธรรมที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ในการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี. (7)1, 168-177.

พระภาวนาธรรมาภิรัช วิ. (2562). สรรพธรรม 9. ลำพูน : ณัฐพลการพิมพ์.

พระธรรมมังคลาจารย์ วิ. (2550) คู่มือการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานในแนวสติปัฏฐาน 4. เชียงใหม่ : ดาราวรรณการพิมพ์.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2561). หลักการทั่วไปของการปฏิบัติธรรม. กรุงเทพมหานคร : ม.ป.ท.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) 2556). ชีวิตที่สมบูรณ์. (พิมพ์ครั้งที่ 116). กรุงเทพมหานคร : วัดญาณเวศกวัน.

วัดร่ำเปิง (ตโปทาราม). (2559). คู่มือการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานในแนวสติปัฏฐาน 4. เชียงใหม่ : โรงพิมพ์ช้างเผือก.

สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2562). โครงการศึกษาเพื่ออนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่ประวัติศาสตร์และโบราณสถาน ในเขตเทศบาลตำบลสุเทพให้เป็นแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ และโบราณคดี. สืบค้น 2 กรกฏาคม 2019. http://www.sri.cmu.ac.th/~demo/index.php/ site/historic_detail/id/10All.

พระวัชรินทร์ ปิยธมฺโม. (2562). พระวิปัสสนาจารย์ วัดร่ำเปิง (ตโปทาราม). พระวิปัสสนาจารย์. สัมภาษณ์. 8 พฤศจิกายน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-28