การใช้ประโยชน์จากอัตลักษณ์ฐานทรัพยากรการท่องเที่ยว ทางพระพุทธศาสนา จังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • ธนู ศรีทอง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์
  • บรรจง โสดาดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์
  • พระครูปัญญาสุธรรมนิเทศก์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์
  • พระครูวิริยปัญญาภิวัฒน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์
  • พิสุทธิ์พงศ์ เอ็นดู มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์

คำสำคัญ:

คำสำคัญ: การใช้ประโยชน์, อัตลักษณ์ฐานทรัพยากร, การท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ของฐานทรัพยากรการท่องเที่ยว ๒) เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ของฐานทรัพยากรการท่องเที่ยว และ ๓) เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ของฐานทรัพยากรการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาจังหวัดสุรินทร์ เป็นการวิจัยเชิงเอกสารและเชิงคุณภาพ ดำเนินการวิจัยโดยการศึกษาเอกสาร การสังเกต การสัมภาษณ์ และการประชุมกลุ่มย่อย กลุ่มตัวอย่างการวิจัยมีจำนวน ๒๔ รูป/คน ใช้วิธีวิเคราะห์แบบบรรยาย ผลการวิจัย พบว่า ๑) อัตลักษณ์ฐานทรัพยากรการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาจังหวัดสุรินทร์ จำแนกได้ ๗ ด้าน คือ  (๑) ด้านศาสนสถาน (๒) ด้านศาสนวัตถุหรือวัตถุมงคล (๓) ด้านอาหารพื้นบ้าน (๔) ด้านผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น (๕) ด้านวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น (๖) ด้านกิจกรรมการท่องเที่ยว (๗) ด้านสถานที่ท่องเที่ยว ๒) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของฐานทรัพยากรการท่องเที่ยวของหมู่บ้านท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาจังหวัดสุรินทร์ มี ๖ แนวทาง ได้แก่ (๑) การสร้างความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว (๒) การจัดทำบรรจุภัณฑ์ที่มีคุณภาพ (๓) การเข้าสู่การรับรองมาตรฐาน (๔) การสร้างผลิตภัณฑ์ที่สามารถผลิตซ้ำได้ในปริมาณและคุณภาพ (๕) การจัดหาช่องทางตลาด (๖) การอนุรักษ์เมนูอาหารท้องถิ่น ๓) การสร้างมูลค่าเพิ่มทรัพยากรการท่องเที่ยวของหมู่บ้านท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาจังหวัดสุรินทร์ มี ๘ แนวทาง ได้แก่ (๑) การตอบสนองรสนิยมของผู้บริโภค (๒) การเน้นตัวผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น (๓) การจัดการทุนทางวัตถุดิบ (๔) กระบวนการผลิต (๕) การนำเสนอผลิตภัณฑ์ (๖) การให้บริการ (๗) การสร้างแบรนด์ของผลิตภัณฑ์ (๘) การเข้าถึงผู้บริโภค

Downloads

Download data is not yet available.

References

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สำนักงานใหญ่). (2561). “ข้อมูลทั่วไปจังหวัดสุรินทร์”. สืบค้น 15 กันยายน 2561 จาก http://thai.tourismthailand.org/.

ติน ปรัชญพฤทธิ์. (2548). ทฤษฎีองค์การ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช.

เทิดชาย ช่วยบำรุง. (2551). การท่องเที่ยวไทยนานาชาติปี พ.ศ. 2551. กรุงเทพมหานคร : สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวไทย.

ผู้จัดการออนไลน์. (2561) “8 พระเกจิดังจังหวัดสุรินทร์”. สืบค้น 3 มิถุนายน

จากhttp://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9580000062877&Html=1Vote.

พูนทรัพย์ สวนเมือง ตุลาพันธ์. (2546). รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์และร้อยเอ็ด. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

พูนลาภ ทิพชาติโยธิน. (2553). Value-Added Activities เพิ่มลูกค้าด้วยกิจกรรมเพิ่มมูลค่า. สืบค้น 20 มีนาคม 2561. จาก http://202.183.190.2/FTPiWebAdmin/knw_pworld/image_content/

มนัส สุวรรณ และคณะ. (2551). โครงการศึกษาแนวทางและการจัดการท่องเที่ยวในพื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบล และสภาตำบล. กรุงเทพมหานคร : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

รำไพพรรณ แก้วสุริยะ. (2557). หลักการจัดการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน. สืบค้น 20 มิถุนายน 2560. จากhttp://lib.ac.th./Article/tourism/0007.pdf.

สุพัตรา สุภาพ. (2543). สังคมและวัฒนธรรมไทย ค่านิยม ครอบครัว ศาสนา ประเพณี. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช.

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์. (2561). “สรุปโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเส้นทางแสวงบุญในมิติทางศาสนา จังหวัดสุรินทร์ ประจำปีงบประมาณ 2561”. สืบค้น 18 ธันวาคม 2561 จาก http://www.m-culture.go.th/surin/images/Book/Sawangboon.pdf.

อภิญญา เฟื่องฟูสกุล. (2546). อัตลักษณ์ Identity การทบทวนทฤษฎีและกรอบแนวคิด.กรุงเทพมหานคร : คณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-25