การพัฒนาหลักสูตรปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเพื่อเสริมสร้างพุทธิปัญญาสำหรับแกนนำชาวพุทธจังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • พระบุญทรง ปุญฺญธโร, ดร.
  • อวัสดา ทับทิมแท้ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • ประทีป พืชทองหลาง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

คำสำคัญ:

การพัฒนาหลักสูตร, วิปัสสนากรรมฐาน, พุทธิปัญญา, แกนนำชาวพุทธ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาจริตของนิสิตแกนนำชาวพุทธกับการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานสำหรับแกนนำชาวพุทธจังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อพัฒนาหลักสูตรการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานในการเสริมสร้างพุทธิปัญญาสำหรับแกนนำชาวพุทธจังหวัดเชียงใหม่ 3) เพื่อประเมินหลักสูตรการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานในการเสริมสร้างพุทธิปัญญาสำหรับแกนนำชาวพุทธจังหวัดเชียงใหม่ การวิจัยนี้เป็นแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพเข้าด้วยกันช

ผลการวิจัยพบว่า 1) จริตของแกนนำชาวพุทธกลุ่มเป้าหมายทั้ง 20 คน โดยภาพรวม มีลักษณะศรัทธาจริตอยู่ในระดับมากที่สุด พุทธิจริตอยู่ในระดับมาก ส่วนราคจริต โทสจริต โมหจริต และวิตกจริตอยู่ในระดับปานกลาง 2) หลักสูตรวิปัสสนากรรมฐานเพื่อเสริมสร้างพุทธปัญญาสำหรับแกนนำชาวพุทธ โดยพัฒนาตามหลักมหาสติปัฏฐานสูตร คือ (1) การพิจารณากายโดยมีตัวสติเข้าไปรับรู้เพื่อละสุภสัญญา (2) การพิจารณาความสุข ความทุกข์ และอาการเฉยๆ โดยมีตัวสติเข้าไปรับรู้เพื่อละสุขสัญญา (3) การพิจารณาจิตที่รับรู้อารมณ์โดยการมีสติเป็นตัวรับรู้เพื่อละนิจจสัญญา (4) การพิจารณาสภาวธรรมที่ปรากฏทางจิตใจตามกฎของไตรลักษณ์โดยมีตัวสติเข้าไปรับรู้เพื่อละอัตตสัญญา 3) หลักสูตรการพัฒนาพุทธิปัญญาสำหรับแกนนำชาวพุทธจังหวัดเชียงใหม่ มีค่าเฉลี่ยระดับความเหมาะสมของการประเมินคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญ 3 คน อยู่ในระดับมาก และมีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นทั่วไปเกี่ยวกับหลักสูตรอยู่ในระดับมากที่สุด สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาพุทธิปัญญาให้แก่แกนนำชาวพุทธได้

References

กมลาศ ภูวชนาธิพงศ์. (2557). กระบวนปลูกฝังค่านิยมการบริโภคด้วยพุทธิปัญญาสำหรับวัยรุ่น. การประชุมวิชาการระดับชาติ มจร ครั้งที่ 1 (MCU Congress 1). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

จำลอง ดิษยวณิช. (2543). วิปัสสนา : เพื่อการพัฒนาสุขภาพจิตและเชาวน์อารมณ์. เชียงใหม่: โรงพิมพ์แสงศิลป์.

พระปลัดสุขาติ สุวฑฺฒโก. (2562). เจ้าอาวาสวัดห้วยบง ตำบลบ้านจันทร์ อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่. สัมภาษณ์. 12 มีนาคม 2562.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2547). ธรรมนูญชีวิต พุทธจริยธรรมเพื่อชีวิตที่ดีงาม.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ระฆังทอง.

พระเมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2533). พุทธศาสนากับปรัชญา. กรุงเทพมหานคร: อัมรินทร์พริ้นติ้ง กรุ๊ฟ.

พระสมุห์ชิดชัย ฐิตป̣โ. เลขานุการโครงการพระบัณฑิตอาสาพัฒนาชาวเขา. สัมภาษณ์. 15 มีนาคม 2562.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2535). พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ 2500. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-27