การประยุกต์ใช้สังคหวัตถุธรรมในการปฏิบัติงานของกลุ่มจิตอาสา โรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • เพ็ญศรี วังเสรีพิพัฒน์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา

คำสำคัญ:

สังคหวัตถุธรรม, การปฏิบัติงาน, จิตอาสาโรงพยาบาลนครพิงค์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาการปฏิบัติงานของกลุ่มจิตอาสาโรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาการนำหลักสังคหวัตถุธรรมไปใช้ในการปฏิบัติงานของกลุ่มจิตอาสาโรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ 3) เพื่อเสนอแนวทางการประยุกต์ใช้สังคหวัตถุธรรมในการปฏิบัติงานของกลุ่มจิตอาสาโรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจง จำนวน 30 คน ประกอบด้วยกลุ่มจิตอาสาที่เป็นนักร้องและนักดนตรี จานวน 15 คน กลุ่มจิตอาสาที่เป็นช่างตัดผม จานวน 5 คน กลุ่มจิตอาสาที่เป็นแพทย์พยาบาล จานวน 5 คน และกลุ่มจิตอาสาทั่วไป จานวน 5 คน กลุ่มจิตอาสากลุ่มสัมพันธ์ จานวน 5 คน เครื่องมือในการวิจัยได้แก่แบบสัมภาษณ์เชิงลึก

ผลการวิจัยพบว่า: 1) กลุ่มจิตอาสาได้ปฏิบัติงานด้วยความจริงใจ ทำด้วยใจ มีความเที่ยงธรรม เมตตา  เอื้ออาทร และสร้างความสมานสามัคคี โดยไม่ได้หวังผลตอบเป็นการทำประโยชน์ให้แก่สังคม กลุ่มจิตอาสามีการนำหลักสังคหวัตถุธรรมในการปฏิบัติงาน เน้นการบำเพ็ญตนเพื่อประโยชน์แก่ส่วนรวม โดยการเข้าร่วมกิจกรรมด้วยความเสียสละทั้งกำลังแรงกายและกำลังทรัพย์ ให้แก่ผู้ป่วย ญาติ

2) เจ้าหน้าที่อย่างสม่ำเสมอ ใช้ปิยวาจาอย่างเหมาะสม สุภาพอ่อนน้อมถ่อมตน รวมทั้งปฏิบัติงานด้วยความวิริยะอุตสาหะเสมอต้น เสมอปลาย ให้เกียรติซึ่งกันและกัน

3) กลุ่มจิตอาสามีแนวทางการประยุกต์ใช้สังคหวัตถุธรรม ในการปฏิบัติงานสอดคล้องกับบริบทของสังคม วัฒนธรรม เอื้อเฟื้อและแบ่งปันซึ่งกันและกัน ปฏิบัติงานทุกๆ กิจกรรม ด้วยความสุภาพ นุ่มนวล ถูกกาลเทศะ นำสิ่งของของตนมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่น

References

จิตรา แสงวัฒนาฤกษ์, พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส และ ขันทอง วัฒนประดิษฐ์. (2560). การศึกษาวิเคราะห์แนวทางการทำงานจิตอาสาของสมาชิกสโมสรโรตารี่พระนารายณ์ลพบุรีตามแนวพุทธสันติวิธี. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 5(2), 86.

พิชิต ตันติศักดิ์. (2548). บทบาทของอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนเทศบาลนครเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.

วราพร วันไชยธนวงศ์, ประกายแก้ว ธนสุวรรณ และ วรรณา พิพัฒน์ธนวงศ์. (2551). กระบวนการสร้างจิตอาสาของนักศึกษาพยาบาลบรมราชชนนี (รายงานการวิจัย). เชียงใหม่: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่. (2561). รายงานประจำปี 2562. เชียงใหม่: กลุ่มงานยุทธศาสตร์และ แผนงานโครงการ โรงพยาบาลนครพิงค์.

อารีนา เลิศแสนพร. (2554). จิตสาธารณะ : มิติการปลูกฝังจิตสำนึกให้นักสวัสดิการสังคมรุ่นใหม่. คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหัวเฉียว.ฃ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-26