วิเคราะห์คติความเชื่อที่ปรากฏในสื่อสัญลักษณ์ ทางพระพุทธศาสนาในสังคมล้านนา
คำสำคัญ:
คติความเชื่อ, สื่อสัญลักษณ์, พระพุทธศาสนา, สังคมล้านนาบทคัดย่อ
งสื่อสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาคติความเชื่อสื่อสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาในสังคมล้านนา 3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์คติความเชื่อสื่อสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาในสังคมล้านนา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก โดยมีกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญแบ่งเป็น 1) กลุ่มพระสงฆ์ และ2) กลุ่มฆราวาส (ในกรณีศึกษา ราชสีห์ จำนวน 4 รูป/คน พญานาค จำนวน 4 รูป/คน ธรรมจักร จำนวน 4 รูป/คน) จำนวนทั้งสิ้น 12 รูป/คน ในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และเชียงรายเท่านั้น
ผลการวิจัยพบว่า คุณค่าความเชื่อที่มีต่อคติความเชื่อสื่อสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาในสังคมล้านนา โดยมีคติความเชื่อสื่อสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาคือ (1) เป็นเครื่องเชื่อมประสานคนในชุมชนให้เกิดความรักความสมัครสมาน สามัคคีกลมเกลียว (2) เป็นจุดศูนย์รวมจิตใจของสมาชิกในชุมชน ให้เริ่มต้นกระทำสิ่งต่างๆ อย่างพร้อมเพรียงกัน (3) ทำให้สมาชิกในชุมชนได้เรียนรู้ระเบียบแบบแผน วัฒนธรรมประเพณีของชุมชน ทำให้สมาชิกชุมชนมีวิถีชีวิตเป็นไปตามครรลองของหมู่คณะ (4) เป็นเครื่องน้อมนำความเชื่อและศรัทธาให้เข้าสู่หลักธรรมในพระศาสนา มีความเกรงกลัวต่อบาป น้อมนำจิตใจให้เจริญในกุศลธรรม และ(5) เป็นรูปแบบการสื่อความหมายของคติความเชื่อของชุมชน เป็นจุดเริ่มต้นที่จะชักนำสมาชิกให้เข้าถึงเนื้อหาสาระในคติความเชื่อของชุมชนที่สืบทอดมาตั้งแต่บรรพชน
References
Rogers, C. (1988). ทฤษฎีการเรียนรู้. พฤติกรรมศาสตร์แสตนฟอร์ด, มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน (University of Wisconsin), 1988.
จารุวรรณ ธรรมวัตร. (2539). ตำนานการสร้างศาสนสถาน. กรุงเทพเทพมหานคร: แสงศิลป์การพิมพ์.
เจือ สตะเวทิน. [ม.ป.ป.]. คติชาวบ้าน. กรุงเทพเทพมหานคร: [ม.ป.ท.].
ชัยพร วิชชาวธุ. (2540). ความจํามนุษย์. กรุงเทพมหานคร: ชวนพิมพ์.
ทัศนีย์ ทานตวณิช. (2523). คติชาวบ้าน. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒบางแสน.
พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2536). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. (พิมพ์ครั้งที่ 7)กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สุภาพรรณ ณ บางช้าง. (2535). พุทธธรรมที่เป็นรากฐานไทยสมัยสุโขทัยถึงก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุนทรี โคมิน และ สนิท สมัครการ. (2522). รายงานการวิจัยเรื่อง ค่านิยมและระบบค่านิยมไทยเครื่องมือในการสํารวจวัด.
กรุงเทพมหานคร: สํานักงานวิจัยสถาบันพัฒนาบริหารศาสตร์.
เสฐียร พันธรังสี. (2513). ศาสนาเปรียบเทียบ. กรุงเทพมหานคร: สุขภาพใจ