The Power of Art: กระบวนการสร้างสุขภาวะทางสังคม กรณีศึกษา แมงสี่หูห้าตาของเมืองเชียงราย

ผู้แต่ง

  • มานิตย์ กันทะสัก
  • อมลณัฐ กันทะสัก ชมรมผญ๋าวรรณกรรมล้านนาเจียงฮาย

คำสำคัญ:

The Power of Art, สุขภาวะทางสังคม, แมงสี่หูห้าตา

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 3 ประการ ได้แก่ 1)  เพื่อศึกษากระบวนการสร้างพลังทางศิลปะ โดยใช้อัตลักษณ์ของท้องถิ่นแมงสี่หูห้าตา 2) เพื่อพัฒนาการเรียนรู้และการมีส่วนร่วม ในการใช้สัญลักษณ์ทางศิลปะกับการสร้างสุขภาวะทางสังคม และ 3) เพื่อพัฒนานวัตกรรมแห่งศิลปะ ในการสร้างสุข ภาวะทางสังคม การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participation Action Research) โดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ กลุ่มชาวบ้าน จำนวน 50 คน หมู่บ้านเขาควาย ตำบลรอบเวียง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย

จากการศึกษาพบว่า (1) กระบวนการสร้างพลังทางศิลปะ มี 4 ขั้นตอน คือ 1) การจัดการภูมิปัญญาท้องถิ่น  2) การสร้างสรรค์ใหม่ 3) การเผยแพร่องค์ความรู้ 4) การประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้ (2) พัฒนาการเรียนรู้ มี 4 ด้าน คือ 1) การพัฒนาการเรียนรู้ผ่านกิจกรรม  2) การพัฒนาการเรียนรู้ผ่านผู้นำ 3) การพัฒนาการเรียนรู้กระบวนการกลุ่ม 4) การพัฒนาการเรียนรู้ผ่านกระบวนการความคิดสร้างสรรค์ และการพัฒนาการมีส่วนร่วม มี 4 กิจกรรม คือ 1) การให้ข้อมูลข่าวสาร 2) การรับฟังความคิดเห็น 3) การเกี่ยวข้อง 4) ความร่วมมือ 5) การเสริมอำนาจแก่ประชาชน   (3) นวัตกรรมแห่งศิลปะในการสร้างสุขภาวะทางสังคม มี 3 นวัตกรรม คือ 1) การพัฒนานวัตกรรมด้านศิลปะ มาทคอตแมงสี่หูห้าตา ìน้องคำสุขî จากงานกีฬาแห่งชาติเชียงรายเกม ครั้งที่ 46  2) การสร้างแมงสี่หูห้าตาของอำเภอพญาเม็งราย จังหวัดเชียงราย และ 3) การพัฒนานวัตกรรมสร้างป้ายแมงสี่หูห้าตาสอนธรรมะชุมชนดอยเขาควาย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย เพื่อสร้างเสริมสุขภาพจิตให้มีความเบิกบาน สร้างสุนทรียภาพแก่สังคม

References

จิตวิทยาการศึกษา. (3 พฤษาคม 2562). ความสำคัญของการจูงใจ. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2562. http://www.banrainarao.com/column/learn_commu.

ธนพร แตงขาว. (2548). การศึกษาวิถีชีวิตและความเชื่อของชาวล้านนาจากจารึกล้านนา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปกร.

ณัฐกาญ ธีรบวรกุล. (2556). อิทธิพลของคติชาวบ้านล้านนาที่ปรากฏผ่านประติมากรรมรูปตัวมอมใน ภาคเหนือของประเทศไทย. วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 10(3): 83.

ประทีป วีระพัฒนนิรันดร์. (3 พฤภาคม 2562). การจัดกระบวนการเรียนรู้ในชุมชน, มูลนิธิพลังนิเวศและชุมชน. สืบค้นเมื่อ 22 มีนาคม 2563 : http://www.banrainarao.com/column/learn_commu.

ยศ สันตสมบัติ. (2537). มนุษย์กับวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศิลป์ พีระศรี. (2546). พรุ่งนี้ก็ช้าไปเสียแล้ว ใน ศิลปะวิชาการ: ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์.

บัวพันธ์ พรหมพักพิง. (2546). การก่อเกิด การผลิตซ้ำ และการขยายตัวทุนในสังคมในชนบทอีสาน. วิทยานิพนธ์. ภาควิชาพัฒนาสังคม: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อธิการสนอง สุมะโน. สัมภาษณ์. (2562). เจ้าอาวาสวัดดอยเขาควาย. 7 พฤษภาคม.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-29