ศิลปะเชิงพุทธสู่วิถีชุมชนบนผนังพื้นที่สาธารณะในจังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • มานิตย์ โกวฤทธิ์

คำสำคัญ:

ศิลปะ, วิถีชุมชน, พื้นที่สาธารณะ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาการสร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะในผนังพื้นที่สาธารณะของเมืองท่องเที่ยว 2) เพื่อสร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะเชิงพุทธสู่วิถีชุมชนในผนังพื้นที่สาธารณะในรูปแบบการสร้างภาพ 3 มิติ ที่มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับวัฒนธรรมท้องถิ่น 3) เพื่อพัฒนาเมืองให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางศิลปะ และแหล่งเรียนรู้เชิงศิลปวัฒนธรรมวิถีชุมชนแนวพุทธที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตน งานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชุมชน จำนวน 6 แห่ง

การวิจัยพบว่า  (1)  การสร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะในผนังพื้นที่สาธารณะของเมืองท่องเที่ยว พบว่า เมืองท่องเที่ยวทางศิลปะในญี่ปุ่นและในประเทศแถบยุโรปมีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะในผนังพื้นที่สาธารณะของเมืองท่องเที่ยวไทยปัจจุบัน เช่น ศิลปะแนวสตรีทอาร์ต เทศบาลนครลำปาง ศิลปะบนผนังชุมชน ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยง เมืองปัตตานี ศิลปะสตรีทอาร์ต “ถนนนางงาม” เทศบาลนครยะลา และศิลปะสตรีทอาร์ต เทศบาลนครสงขลา

(2) การสร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะในผนังพื้นที่สาธารณะของเมืองท่องเที่ยว พบว่า การการศึกษาประวัติศาสตร์ชุมชนและอัตลักษณ์ของท้องถิ่นเป็นแนวทางในการสร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะที่สอดคล้องกับวิถีวัฒนธรรมชุมชนในรูปแบบภาพ 3 มิติ

(3) การพัฒนาเมืองให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางศิลปะ และแหล่งเรียนรู้เชิงศิลปวัฒนธรรม พบว่า การจัดกิจกรรมถ่ายทอดความรู้ด้านศิลปะ การจัดเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างข้าราชการ นักวิชาการ ศิลปิน ผู้นำชุมชน และชาวบ้านในชุมชน และการจัดกิจกรรมเพื่อให้ความรู้ในเชิงปฏิบัติการด้านศิลปะภาพ 3 มิติ แก่กลุ่มเยาวชน การใช้สื่อสารมวลชนและสื่อสารสนเทศเพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยและประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวของชุมชน

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2544). ศาสตร์แห่งสื่อและวัฒนธรรมศึกษา. กรุงเทพมหานคร : เอดิสัน เพรส
โปรดักส์.
เกษม เพ็ญภินันท์. (2552). ความโกลาหลของวัฒนธรรมศึกษา: ยกเครื่องเรื่องวัฒนธรรมศึกษา.
กรุงเทพมหานคร : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์กรมหาชน).
ชะเอม สายทอง. (2551). “เพอร์สเปคทีฟ”. ก้าวทันโลกวิทยาศาสตร์. ปีที่ 8 (1): 2551): 1-7.
ไชยสิทธิ์ ชาญอาวุธ. (2560). “การศึกษาคุณค่าด้านอัตลักษณ์ของศิลปะข้างถนนเพื่อการสร้างมูลค่าสู่
เศรษฐกิจสร้างสรรค์”. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. ปีที่ 25 ฉบับที่ 49
กันยายน - ธันวาคม 2560: 257 – 258.
ณัฐกานต์ กันธิ. (2555). มะจิสุคุริ (Machitsukuri) กับการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว: กรณีศึกษา
การพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในจังหวัดโออิตะ ประเทศญี่ปุ่น. เชียงใหม่:
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ปิยพร อรุณเกรียงไกร. (12 กุมภาพันธ์ 2562). Creative Knowledge. ออนไลน์. แหล่งที่มา
https://hr.tcdc.or.th/en/Articles/Detail/NAOSHIMA.
รัตนา โตสกุล. (2548). มโนทัศน์เรื่องอำนาจ. กรุงเทพมหานคร : คณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ.
เสาวรภย์ กุสุมา ณ อยุธยา. (2553). “Creative Economy ทางเลือกใหม่ในการพัฒนาเศรษฐกิจไทย”.
Executive Journal. มกราคม – พฤษภาคม 2553: 23 – 28.
Louis Bou. (2005). Street Art, The Spray File. New York: Colin Design.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-29