การศึกษาองค์ประกอบพุทธสถาปัตยกรรมและภูมิทัศน์วัฒนธรรมของวัด ในอำเภอเมืองเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • พระครูธีรสุตพจน์
  • พัลลภ หารุคำจา

คำสำคัญ:

องค์ประกอบพุทธสถาปัตยกรรม, ภูมิทัศน์วัฒนธรรมของวัด

บทคัดย่อ

บทความนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) ศึกษาองค์ประกอบของพุทธสถาปัตยกรรมล้านนา  2) เพื่อศึกษาความเชื่อมโยงทางภูมิทัศน์วัฒนธรรมของวัดในอำเภอเมืองเชียงใหม่  3) เพื่อวิเคราะห์แนวคิดทางพุทธสถาปัตยกรรมและภูมิทัศน์วัฒนธรรมของวัดในอำเภอเมืองเชียงใหม่  การศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 17 ท่าน ในพื้นที่ 5 วัดในจังหวัดเชียงใหม่

ผลการวิจัยพบว่า  1) องค์ประกอบของพุทธสถาปัตยกรรมล้านนา พุทธสถาปัตยกรรม มี 2 ประเภท คือ ประเภทเจดีย์และอาคาร องค์ประกอบพุทธสถาปัตยกรรม  คือ 1. องค์ประกอบทางโครงสร้างสถาปัตยกรรม   2. องค์ประกอบทางศิลปกรรม  2) ความเชื่อมโยงทางภูมิทัศน์วัฒนธรรมของวัดในอำเภอเมืองเชียงใหม่  ภูมิทัศน์วัฒนธรรม คือ ทุกสิ่งทุกอย่างทั้งทางรูปธรรมและนามธรรม มีคุณค่าทางด้านความงาม การบูรณปฏิสังขรณ์วัด ในล้านนาของนักบุญล้านนาได้สร้างพื้นที่ทางโบราณคดี ซึ่งมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ และเกิดความร่วมมือกันสืบสานประเพณีบุญของวัดต่าง ๆ ให้คงอยู่สืบไป 3) วิเคราะห์แนวคิดทางพุทธสถาปัตยกรรมและภูมิทัศน์วัฒนธรรมของวัดในอำเภอเมืองเชียงใหม่ ประวัติศาสตร์วัฒนธรรมล้านนามีมายาวนาน เริ่มขึ้นในสมัยหริภุญชัย การใช้ประโยชน์จากพื้นที่วัด พื้นที่ทางกายภาพ ทางสังคม และทางจิตวิญญาณ องค์ประกอบของพุทธสถาปัตยกรรมล้านนา ประกอบด้วยโครงสร้างสถาปัตยกรรมและทางศิลปกรรม  ความเชื่อมโยงทางภูมิทัศน์วัฒนธรรมของเส้นทางบุญจากพื้นที่วัดพระสิงห์วรมหาวิหารไปถึงวัดพระธาตุดอยสุเทพ แนวคิดทางพุทธสถาปัตยกรรมและภูมิทัศน์วัฒนธรรม คือ พื้นที่ทางกายภาพ ทางสังคม และทางจิตวิญญาณ

References

ประเสริฐ ณ นคร และปวงคำ ตุ้ยเขียว. (2537). ตำนานมูลศาสนาเชียงใหม่และเชียงตุง. กรุงเทพมหานคร: ศักดิ์โสภาการพิมพ์.

ฐิติพร สะสม. (2553). ศึกษาระบบการบริหารและจัดการวัดในพระพุทธศาสนา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วิโรจน์ อินทนนท์. (2553). พระพุทธศาสนาในล้านนา บทความในหนังสือ เถราภิเษก: พิธียกยอสมณศักดิ์พระสงฆ์ในล้านนา. เชียงใหม่: โครงการศูนย์ ศึกษาพระพุทธศาสนาประเทศเพื่อนบ้าน. สำนัวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่.

พรรณงาม ชพานนท์. (2526). ภูมิศาสตร์วัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2549). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

แสง มนวิทูร. (2552). ชินกาลมาลีปกรณ์. เชียงใหม่: มปพ.

อิสระ อินทร์ยา และ เค็น เทย์เลอร์. (2558). ภูมิทัศน์วัฒนธรรมกับภูมิปัญญาในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชาวภูไท. วารสารรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์. (4)2: 58.

สัมภาษณ์. (2561). พระครูปริยัติกิจจาภิวัฒน์ ธมฺมวุฑฺโฒ. ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระสิงห์วรมหาวิหาร เลขที่ 2 ต. พระสิงห์ อ. เมือง จ. เชียงใหม่.

สัมภาษณ์. (2561). พระราชรัชมุนี. เจ้าอาวาสวัดสวนดอก (พระอารามหลวง). ที่อยู่ เลขที่ 139 ถนนสุเทพ ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่.

สัมภาษณ์. (2561). พระครูวินัยธรบุญกร ไกยะฝ่าย. ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดศรีโสดา (พระอารามหลวง) ตำบล สุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่.

สัมภาษณ์. (2561). พระวัฒนพงษ์ เปงใจ. ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดผาลาด ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่.

สัมภาษณ์. (2561). พระครูวิเทศขันตยาภรณ์ (ขรรชัย ขนฺติโต). พระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-15