ศึกษาวิเคราะห์อิทธิพลและคุณค่างานพุทธศิลปกรรมรัชสมัยของพระเมืองแก้วในล้านนา

ผู้แต่ง

  • เทพประวิณ จันแรง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • พระสุวรรณเมธี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • พระครูปลัดอุทัย รตนปญฺโญ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • ฟองแก้ว บัวลูน โรงบาลนครพิงค์

คำสำคัญ:

อิทธิพลและคุณค่า, พุทธศิลปกรรม, พระเมืองแก้ว

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์อยู่  3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาและการทะนุบำรุงพระพุทธศาสนาของพระเมืองแก้ว 2) เพื่อสืบค้นแหล่งโบราณคดีทางพระพุทธศาสนาในรัชสมัยของพระเมืองแก้ว 3) เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลและคุณค่างานพุทธศิลปกรรมรัชสมัยของพระเมืองแก้วในล้านนา เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาข้อมูลเชิงเอกสาร และข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 22 คน ผลการวิจัยพบว่า

ผลการวิจัยพบว่า  1) พระเมืองแก้ว เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ 11 ในราชวงศ์เม็งราย อาณาจักรล้านนา เป็นเหลนของพระเจ้าติโลกราช  ครองราชย์เมื่อพระชนมายุ 13 พรรษา พ.ศ.2038   สวรรคตเมื่อพระชนมายุ 44 พรรษา พ.ศ.2068  ไม่มีราชโอรสและราชธิดา ตลอด 30 ปีแห่งรัชสมัย พระองค์ได้ทรงทะนุบำรุงพระพุทธศาสนา สร้างความเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสูงสุด เป็นยุคทองของพระพุทธศาสนาในล้านนา มีพระสังฆปราชญ์หลายรูป สามารถนิพนธ์วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาเป็นภาษาบาลี  2)  แหล่งโบราณคดีทางพระพุทธศาสนาในรัชสมัยของพระเมืองแก้ว ได้พบจารึกและโบราณคดี สำคัญหลายชิ้น เช่น จารึกมหาอารามราชสัณฐานสิงห์หลวง จารึกหริปุญชปุรี จารึกพระเจ้าสววาธิสิทธิ พระสถูป พระวิหารหลวง หอไตร หรือ หอธรรม ที่วัดพระธาตุหริภุญชัย ลำพูน  วัดพระสิงห์ เชียงใหม่   3) ด้านอิทธิพลและคุณค่างานพุทธศิลปกรรมรัชสมัยของพระเมืองแก้วในล้านนา ได้พบ พุทธศิลปกรรมแบบล้านนาที่ศาสนสถานต่าง ๆ ก่อให้เกิดคุณค่าด้านประวัติศาสตร์  ด้านพุทธศิลปกรรม และ ด้านการอนุรักษ์โบราณคดีสืบมาจนถึงปัจจุบัน

References

ชัปนะ ปิ่นเงิน. (2552). จักกวาฬทีปนี: ต้นแบบทางความคิดพุทธลักษณ์ล้านนา. เชียงใหม่ : สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (อัดสำเนา).

มโน พิสุทธิรัตนานนท์. (2547). สุนทรียวิจักษณ์ในจิตรกรรมไทย. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2535). พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ 2500.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูธีรสุตพจน์. (2558). วิเคราะห์ศรัทธาในพระพุทธศาสนาที่มีอิทธิพลต่อการสร้างงานพุทธศิลปกรรม ในล้านนา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ยุพิน เข็มมุกต์. (2527). พระพุทธศาสนาในล้านนาไทยสมัยราชวงศ์มังราย พ.ศ. 1839 –2101. รายงานการวิจัยเสนอสภาวิจัยแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร: สภาวิจัยแห่งชาติ.

วัชรินทร์ บัวจันทร์. (2554). ศึกษาเรื่องแดนแห่งพลังศรัทธา. ศิลปนิพนธ์ศิลปบัณฑิต. คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

แสง จันทร์งาม. (2535). ศาสนศาสน์. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.

สมพร ไชยภูมิธรรม. (2543). ปางพระพุทธรูป. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ต้นธรรม.

เสถียร โพธินันทะ. (2539). ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา. ฉบับมุขปาฐะ ภาค 1. กรุงเทพมหานคร: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-26