การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมเพื่อเยียวยาผู้ป่วยระยะสุดท้าย

ผู้แต่ง

  • สังวรณ์ สมบัติใหม่
  • พระครูสาทรธรรมสิทธิ์ .
  • สุริยนต์ สูงคำ

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยระยะสุดท้าย, การเยียวยา, พุทธธรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1) เพื่อพัฒนาระบบบริการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายในชุมชน 2) เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติและรูปแบบการดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยและญาติในการเตรียมความพร้อมก่อนเสียชีวิต และ 3) เพื่อพัฒนาต้นแบบในการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมเพื่อเยียวยาผู้ป่วยระยะสุดท้ายในชุมชน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) กับกลุ่มผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย (Care Giver) ในเขตตำบลอุโมงค์ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน จำนวน 20 คน และกลุ่มพระสังฆาธิการในเขตตำบลอุโมงค์ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน จำนวน 11 วัด/รูป

ผลของการศึกษา พบว่า ระบบบริการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายในชุมชน มีกระบวนการดังนี้ 1) ประเมินปัญหา และความต้องการของครอบครัว (Family Assessment) 2) การวางแผนเพื่อช่วยเหลือครอบครัว (Planning) 3) การปฏิบัติตามแผน  (Intervention) 4.การประเมินผล  (Evaluation)  เพื่อให้เกิดการพัฒนาระบบบริการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายอย่างครบวงจรคือ ด้านกาย ใจ และจิตวิญญาณ ตลอดจนถึงการพัฒนาแนวปฏิบัติและรูปแบบการดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยและญาติในการเตรียมความพร้อมก่อนเสียชีวิต

แนวปฏิบัติและรูปแบบการดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยและญาติในการเตรียมความพร้อมก่อนเสียชีวิต ผลการศึกษาพบว่า การตรวจเยี่ยมบ้านของกลุ่มผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย (Care Giver) และพระสงฆ์มีการผสมผสานกันระหว่างการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายและประเพณีพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาของล้านนา เช่น พิธีผูกข้อมือ, การให้ศีลให้พร และการเทศนาธรรม เรียกว่า “ธรรมมหาวิบาก”

การพัฒนาระบบต้นแบบเพื่อติดตามและขยายการศึกษาต่อไป ผลการศึกษาพบว่าการทำงานบริการดูแลแบบประคับประคองผ่านกิจกรรมทางศาสนาของพระสงฆ์ ส่งผลให้ผู้ป่วยและญาติของผู้ป่วยรู้สึกมีที่พึ่งทางจิตใจ ผู้ป่วยเสียชีวิตอย่างสงบสุข และเสริมสร้างขวัญกำลังใจของผู้ป่วยให้ดีขึ้น

References

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2557). แนวทางการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงสาธารณสุข.

กิตติกร นิลมานัต. (2555). การดูแลระยะสุดท้ายของชีวิต. สงขลา : ออเรนจ์มีเดีย.

เต็มศักดิ์ พึ่งรัศมี. (2550). การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์อักษรสัมพันธ์ จำกัด.

พระไพศาล วิสาโล. (2552). การช่วยเหลือผู้ป่วยระยะสุดท้ายด้วยวิธีแบบพุทธ. ใน: ประเสริฐ

เลิศสงวนสินชัย, อิศรางค์ นุชประยูร, พรเลิศ ฉัตรแก้ว, ฉันชาย สิทธิพันธุ์, บรรณาธิการ. การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย. กรุงเทพมหานคร: อักษรสัมพันธ์.

รุ่งนิรันดร์ ประดิษฐ์สุวรรณ. (2552). Living will : มุมมองทางการแพทย์เวชศาสตร์ผู้สูงอายุ. ใน แสวงบุญ. วารสาร มฉก.วิชาการ. 17(1), 118.

เฉลิมวิภา และไพศาล ลิ้มสถิต. ก่อนวันผลัดใบ. นนทบุรี: ศูนย์กฎหมายสุขภาพและนิติศาสตร์คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วิไลลักษณ์ ตันติตระกูล. (2552). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย. รายงานวิจัย. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สอาด มุ่งสิน และจรูญศรี มีหนองหว้า. (2558). การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายตามวิถีชุมชนในสังคม วัฒนธรรมอีสาน : กรณีศึกษาชุมชนตำบลโพธิ์ใหญ่ อำเภอวารินชาราบ จังหวัดอุบลราชธานี.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 6 (1), 89 – 104.

สายพิณ หัตถีรัตน์ และคณะ. (2553). คู่มือการดูแลสุขภาพครอบครัว. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน.

Turk DC, Feldman CS. (1992). Noninvasive approaches to pain control interminal illness: The contribution of psychological variables. Hosp : J 1992.

Temel JS, Greer JA et al.. (2010). Early palliative care for patients with metastatic non-small-cell lung cancer. N Engl : J 2010.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-12