พุทธจักรวาลวิทยา : พระพุทธเจ้าจักรพรรดิแห่งจักรวาล

ผู้แต่ง

  • พระครูสุตพัฒโนดม จารุวณฺโณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • พระมหาดวงรัตน์ ฐิตรตโน
  • สมบูรณ์ ตาสนธิ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่

คำสำคัญ:

จักรวาล, พระพุทธศาสนา, จักรพรรดิ

บทคัดย่อ

บทความทางวิชาการเรื่อง “พุทธจักรวาลวิทยา : พระพุทธเจ้าจักรพรรดิแห่งจักรวาล” เป็นการวิเคราะห์จักรวาลตามแนวคิดทฤษฎีทั่วไปและพระพุทธศาสนาและศึกษาวิเคราะห์ความเป็นพระพุทธเจ้าผู้เป็นจักรพรรดิแห่งจักรวาล

ผลการศึกษาพบว่า จักรวาลตามแนวคิดทฤษฎีทั่วไป กล่าวไว้ว่า จักรวาลเป็นเอกภพหมายถึง ที่ว่างในอวกาศและทุกสิ่งที่มีอยู่ในนั้นคือสสาร ได้แก่ โลกของเรา ดวงดาวต่าง ๆ กาแล็กซี่ รวมถึงพลังงานต่าง ๆ ด้วย โลกอยู่ระบบสุริยะที่มีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง เป็นระบบเล็ก ๆ ระบบหนึ่งในกาแล็กซี่ที่ชื่อว่าทางช้างเผือก และกาแล็กซี่ทางช้างเผือกก็เป็นหนึ่งในหลายล้านกาแล็กซี่ที่อยู่ในเอกภพ จักรวาลจึงมีอายุประมาณ 15,000 ล้านปี ตามแนวพระพุทธศาสนา จักรวาลเป็นเรื่องทางวัตถุกับจิตวิญญาณที่มีความสัมพันธ์กัน จำนวนจักรวาลนั้นนับไม่ได้ พระพุทธองค์ตรัสว่า อนันตจักรวาล โลกจักรวาลพินาศไปเพราะอกุศลมูลเป็นสาเหตุให้โลกจักรวาลพินาศไป  พระพุทธเจ้าผู้ทรงบารมีมาเต็ม 4 อสงไขย 1 มหากัป เป็นจักรพรรดิแห่งจักรวาล ทรงมีอำนาจเขตแดน 3 ประการ (1) ชาติเขต เขตที่ประสูติ โลกพร้อมทั้งจักรวาลหวั่นไหว เพราะปฏิสนธิเป็นต้นของพระตถาคตซึ่งมี10,000 จักรวาล ชาติเขตนี้ทรงเป็นจักรพรรดิทางโลกหรือโลกิยะที่มีรัศมี 10,000 จักรวาล จึงทรงเป็นจักรพรรดิแห่งโลกิยะหรือสากลโลกจักรวาล (2) อาณาเขต เขตอำนาจแห่งพระธรรม สถานที่อานุภาพแห่งพระธรรมแผ่ไป 100,000 โกฏิจักรวาล  ทรงสามารถสอนให้สรรพสัตว์บรรลุถึงพระอรหันต์ได้ในอาณาเขตนี้ และพระองค์ก็ทรงประกาศว่าพระองค์เป็นจักรพรรดิแห่งธรรมในขอบเขตแห่ง 100,000 โกฏิจักรวาลนี้ (3) วิสัยเขต เขตแห่งอารมณ์หรือประสงค์ต้องการรู้ ที่พึงซึ่งพระองค์ทรงระลึกจำนงหวังจะรู้โลกธาตุ ประมาณหาที่สุดมิได้ ก็ทรงรู้ได้ ดังนั้น พระพุทธเจ้าจึงทรงเป็นธรรมจักรพรรดิแห่งจักรวาล

References

พรชัย พัชรินทร์ตนะกุล. (2547). ธรรมชาติของสรรพสิ่ง. กรุงเทพมหานคร:มูลนิธิรักบ้านเกิด.

พระจักรกฤษณ์ ธีรธมฺโม. (2558). ศึกษาวิเคราะห์แนวคิดเรื่องเทวดาในคัมภีร์จักกวาฬทีปนี. วารสาร
พุทธศาสตร์ศึกษา มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) .(2554).จารึกอโศก ธรรมจักรบนเสาสี่สิงห์. ธรรมสภา:กรุงเทพมหานคร.

พระยงยุทธ ปทุโม . (2558). ศึกษาเปรียบเทียบทฤษฎีวิวัฒนาการของมนุษย์และจักรวาลในพุทธปรัชญาเถรวาทกับปรัชญาสางขยะ. วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระสัทธัมมโชติกธัมมาจริยะ. (2556). วิถีมุตตสังคหะ ภูมิจตุกกะและปฏิสนธิจตุกกะ. กรุงเทพมหานคร: ทิพยพิสุทธิ์.

พุทธโฆสมหาเถระ. (2555). อัฏฐสาลินี . พระคันธสาราภิวงศ์แปลและอธิบาย. กรุงเทพมหานคร:ประยูรสาส์นไทย การพิมพ์.

พุทธโฆสมหาเถระ. (2555). วิสุทธิมรรค. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
(2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2500). พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาลงกรณราช วิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2560). อรรถกถาภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราช วิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหามกุฎราชวิทยาลัย. (2535). พระไตรปิฎกและอรรถกถาภาษาไทย ฉบับมหามหกุฏราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย.

สรกานต์ ศรีตองอ่อน. (2558) พุทธจักรวาล. กรุงเทพมหานคร : อมรินท์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชซิ่ง.

สิริมังคลาจารย์. (2548). จักรวาลทีปนี. สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร ตรวจชำระ เรียบเรียง. กรุงเทพมหานคร:ศรีเมืองการพิมพ์.
ศรีศักร วัลลิโภดม, (2547). ธรรมชาติของสรรพสิ่ง. กรุงเทพมหานคร:มูลนิธิรักบ้านเกิด.

ศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์โลกและดาราศาสตร์. กำเนิดโลก. สืบค้นเมื่อ 3 ธันวาคม 2562. จากhttp://www.lesa.biz/earth/earth-system/earth-origin

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-28