การประยุกต์หลักไตรสิกขาในการบำบัดผู้ป่วยที่มีความเชื่อต่อการถูกคุณไสย ของชุมชนบ้านใหม่สันติ อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • แม่ชีปัณฑิตาภา เนตรน้อย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มหาปชาบดีเถรีวิทยาลัยฯ
  • แม่ชีประครอง งามชัยภูมิ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มหาปชาบดีเถรีวิทยาลัยฯ
  • นิพล อินนอก มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มหาปชาบดีเถรีวิทยาลัยฯ

คำสำคัญ:

ไสยศาสตร์ หรือ, คุณไสย, หลักไตรสิกขา ปัจจัยที่ส่งเสริม, คู่มือ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มี วัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาและอธิบายการปฏิบัติตนตามหลักไตรสิกขา ในการบำบัดผู้ป่วยที่มีความเชื่อต่อการถูกคุณไสย ของชุมชนบ้านใหม่สันติ อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา 2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งเสริม สนับสนุนการปฏิบัติตนตามหลักไตรสิกขา ของผู้ป่วยที่มีความเชื่อต่อการถูกคุณไสย 3) เพื่อจัดทำคู่มือการปฏิบัติตนตามหลักไตรสิกขาในการบำบัดผู้ป่วยที่มีความเชื่อต่อการถูกคุณไสย เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี โดยการศึกษาเชิงปริมาณ และศึกษาเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง คือผู้ป่วยที่หายแล้วตั้งแต่ 3 เดือน –1 ปี  20 คน ผู้ป่วยที่กำลังเข้ารับการบำบัด 40 คน คณะผู้ทำการบำบัดและตัวแทนประชาชน ซึ่งมีความเชื่อเรื่องคุณไสยที่เข้าร่วมกิจกรรมของศูนย์ปฏิบัติธรรมวัดใหม่สันติ เป็นประจำ30 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา 1) แบบสอบถาม 2) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง 3) แบบบันทึกการสนทนา 4) แบบสังเกตแบบมีส่วนร่วม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ข้อมูลที่ได้จากการสนทนากลุ่มวิเคราะห์โดยการสรุป ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ใช้วิธีการวิเคราะห์แบบอุปนัย ข้อมูลเชิงปริมาณ วิเคราะห์โดยการหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ การวิเคราะห์ถดถอย ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยที่มีความเชื่อต่อการถูกคุณไสย โดยส่วนมากตั้งใจรักษาศีล สวดมนต์ ฟังธรรม ส่วนการปฏิบัติด้านสมาธิ และปัญญา ผู้ป่วยที่ไม่เคยปฏิบัติมาก่อนจะเห็นเป็นเรื่องยาก, ส่วนปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมสนับสนุนในการปฏิบัติตนตามหลักไตรสิกขา ผู้ป่วยแต่ละคนจะให้ความสำคัญกับปัจจัยทั้ง 4 ข้อแตกต่างกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของผู้ป่วยแต่ละคน

References

พระครูพิมลปัญญานุยุต. (2560). ศึกษากระบวนการพัฒนาตนตามหลักพุทธจิตวิทยาเพื่อการตื่นรู้. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาปองปรีดา ปริปุณโณ. (2545). การป้องกันและรักษาโรคตามหลักพระพุทธศานา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาปองปรีดา ปริปุณฺโณ. (2545). ศึกษาการป้องกันและรักษาโรคตามหลักพระพุทธศาสนา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระอธิการไพศาล กิตฺติภทฺโท. (2545). ศึกษาการประยุกต์ใช้พุทธปรัชญาในการบำรุงรักษาจิตผู้ป่วย. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พลกฤษณ์ โชติศิริรัตน์. (2555). การศึกษาเชิงวิเคราะห์การรักษาโรคด้วยวิปัสสนากัมมัฏฐานตามแนวทางของพระธรรมสิงหบุราจารย์ (จรัญ ฐิตธมฺโม). วิทยานิพนธ์พุทธศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ร้อยตำรวจเอกหญิง อุทัยวรรณ เลาประเสริฐสุข. (2546). การศึกษาเชิงวิเคราะห์พุทธวิธีบรรเทาทุกข์ยามเจ็บป่วย. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วิโจรจน์ นาคชาตรี. (2547). การรักษาโรคในพระไตรปิฎก. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ศศิธร เขมาภิรัตน. (2548). การศึกษาเปรียบเทียบพุทธวิธีในการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมกับการแพทย์แผนไทย. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-26