การสถาปนาเจดีย์ในล้านนาภายใต้คติมหาโพธิมณฑล

ผู้แต่ง

  • พระพงษ์ระวี อุตฺตรภทฺโท มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • สรัสวดี อ๋องสกุล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • เชาวลิต สัยเจริญ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

คติมหาโพธิมณฑล, การสร้างเจดีย์ในล้านนา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1) ศึกษาความเป็นมา คติ วิธีการ และรูปแบบการสร้างเจดีย์ในล้านนาภายใต้คติมหาโพธิมณฑลเป็นศูนย์กลางของธาตุเจดีย์ในเขตอาณาจักรล้านนา 2) ศึกษากระบวนทัศน์ที่แฝงอยู่ในการสร้างเจดีย์ในล้านนาภายใต้คติมหาโพธิมณฑลเป็นศูนย์กลาง จาก เพื่ออธิบายถึงกระบวนทัศน์ของชาวล้านนาในอดีต 3) รวบรวมองค์ความรู้จากการศึกษาวิจัยนี้ เพื่อสืบสานและถ่ายทอด คติการสถาปนาเจดีย์ในล้านนาภายใต้คติมหาโพธิมณฑล โดยการศึกษาผ่านหลักฐานทางโบราณคดีที่เป็นลายลักษณ์อักษรเช่นพับสา จารึก และพงศาวดาร รวมถึงจากหลักฐานทางโบราณคดีที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร อาทิเช่น โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและสถาปัตยกรรมธาตุเจดีย์ที่เกี่ยวเนื่อง ผ่านมุมมองที่หลากหลาย 

ผลการวิจัยพบว่า 1) การสร้างเจดีย์ในล้านนามีความเกี่ยวเนื่องกับคติมหาโพธิมณฑลในการสถาปนาธาตุเจดีย์ 2) กระบวนทัศน์ของชาวล้านนาต่อการสร้างเจดีย์ภายใต้คติมหาโพธิมณฑลมีความรับรู้อย่างหลากหลายอาทิเช่นเป็นภาพแทนศูนย์กลางจักรวาล เป็นคติทับซ้อนเขาพระสุเมรุ อีกทั้งเป็นเครื่องมือของชนชั้นนำในการสร้างสิทธิธรรมและอำนาจ 3) ผลการศึกษาสามารถช่วยสืบสาน และถ่ายทอด เผยแพร่คติ และวิธีการสร้างเจดีย์ในล้านนาภายใต้คติมหาโพธิมณฑล

References

กรมศิลปากร. (2513) . ประชุมตำนานพระธาตุ ภาคที่ 1 และภาคที่ 2. กรุงเทพมหานคร: กรมศิลปากร.

กรมศิลปากร. (2547). สมุดภาพไตรภูมิฉบับอักษรธรรมล้านนาและอักษรขอม. กรุงเทพมหานคร: กรมศิลปากร.

กรมศิลปากร. (2535). วรรณกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ เล่ม 2 (ไตรภูมิโลกยวินิจฉยกถา). กรุงเทพมหานคร: กรมศิลปากร.

ชาตรี ประกิตนนทการ. (2553). คติสัญลักษณ์ ศีรษะแผ่นดิน. ศิลปวัฒนธรรม. 31(6): 290.

ชาญณรงค์ ศรีสุวรรณ. (2562). วัดต้นเกว๋น (อินทราวาส) : ศิลปกรรม สถาปัตยกรรม และการสืบสานประเพณีวิถีล้านนา. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศรีศักร วัลลิโภดม. (2546). ความหมายของพระบรมธาตุในอารยธรรมสยามประเทศ. กรุงเทพมหานคร: เมืองโบราณ.

อมรเทโวภิกขุ. (2550). พระธาตุมหัศจรรย์แห่งพระพุทธศาสนา. วัดสันติธรรม.เชียงใหม่.

อุดม รุงเรืองศรี .(2525).ไตรภุมม์ (ไตรภูมิฉบับล้านนา). หน่วยส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมศึกษา และวัฒนธรรมล้านนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เอเดรียน สนอดกราส (2541). สัญลักษณ์แห่งพระสถูป. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์วิชาการ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-28