แนวทางการพัฒนาวิธีการสอนเชิงบูรณาการสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
คำสำคัญ:
แนวทางการพัฒนา, การเรียนการสอน, วิทยาเขตล้านนาบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาแนวทางการพัฒนาวิธีการสอนเชิงบูรณาการ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ 1) นักศึกษาชั้นปีที่ 3 นักศึกษาคณะสังคมศาสตร์ สาขาวิชาการปกครอง ชั้นปีที่ 3 จำนวน 83 รูป/คน โดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย 2) คณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ 4 คน โดยเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล 1) แบบสอบถาม ใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในการวิเคราะห์ข้อมูล 2) แบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยกับแนวทางการพัฒนาวิธีการสอนเชิงบูรณาการโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน ( = 4.48, S.D. = 0.31) อันดับแรก แนวทางการพัฒนาวิธีการสอนเชิงบูรณาการด้านผู้สอน ( = 4.55, S.D. = 0.33) และได้เสนอแนวทางการพัฒนาไว้ว่า ควรกระตุ้นให้ผู้เรียนใช้ความคิดวิเคราะห์อยู่เสมอ รองลงมา แนวทางการพัฒนาวิธีการสอนเชิงบูรณาการด้านเนื้อหา ( = 4.51, S.D. = 0.29) และได้เสนอแนวทางการพัฒนาไว้ว่า ควรใช้ภาษาที่เหมาะสม มีศิลปะสร้างความเข้าใจให้ถูกต้อง อันดับสามแนวทางการพัฒนาวิธีการสอนเชิงบูรณาการด้านวิธีการเรียนการสอน ( = 4.48, S.D. = 0.26) และได้เสนอแนวทางการพัฒนาไว้ว่า ควรต้องให้ศึกษานอกสถานที่ สร้างโลกทัศน์ เปิดวิสัยทัศน์ อันดับสี่แนวทางการพัฒนาวิธีการสอนเชิงบูรณาการด้านสภาพแวดล้อม ( = 4.47, S.D. = 0.37) และได้เสนอแนวทางการพัฒนาไว้ว่า ควรเพิ่มช่องทางในการค้นคว้าหนังสือ ส่วนแนวทางการพัฒนาวิธีการสอนเชิงบูรณาการด้านผู้เรียน อยู่อันดับสุดท้าย ( = 4.39, S.D. = 0.31) และได้เสนอแนวทางการพัฒนาไว้ว่า ควรใส่ใจในความแตกต่างมุ่งให้ความสำคัญในศักยภาพของมนุษย์
References
กานต์รวี บุษยานนท์. (2559). รูปแบบการสอนที่สอดคล้องกับการเรียนรู้ของสมอง (Brain Targeted Model) กับการพัฒนาสมองและการเรียนรู้. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 12(2): 172.
คณะกรรมการประกันคุณภาพภายในระดับอุดมศึกษา. (2560). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2557. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.
จรูญ เฉลิมทอง. (2562). แนวทางปฏิบัติ 6 หลักการในการจัดการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษาตามหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารปัญญาภิวัฒน์. 9(2): บทคัดย่อ.
ทวนทอง เชาวกีรติพงศ์, สมชัย วงษ์นายะ. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (สทมส.). 24(ฉบับพิเศษ): 109.
ธีรภัทร กุโลภาส. (2560). ปัจจัยด้านบรรยากาศโรงเรียนที่ส่งผลต่อความสุขของนักเรียน: กรณีโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย. วารสารปัญญาภิวัฒน์. 9(2): บทคัดย่อ.
พระรุ่งธรรม โชติธมฺโม (หลักคำ). (2562). การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในกระบวนการเรียนรู้ เพื่อพัฒนา จริยธรรมให้แก่นักเรียนโรงเรียนในตำบลหาดแพง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม. วารสารบัณฑิตพัฒนสาร มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 6(1): 32.
พระมหาปริญญา วรญาโณ (ทศช่วย). พระครูสุธีคัมภีรญาณ. วิ. และประยูร แสงใส. (2559). แนวทางการ จัดการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญโดยใช้หลักไตรสิกขาเป็นฐานของ โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ในเขตอำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น. วารสารธรรมทรรศน์. 6(1): 121.
วีระ วงศ์สวรรค์. (2559). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา ที่มีผลการ เรียนต่ำ. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี. 5 (1): 95-104.
สุพรรษา น้อยนคร, รุจโรจน์ แก้วอุไร และนฤมล รอดเนียม. (2562). การส่งเสริมการแก้ปัญหาอย่าง สร้างสรรค์ด้วยการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานเป็นฐานบูรณาการกับเฟซบุ๊ก. วารสาร ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 21(1): 362.