แนวทางส่งเสริมการปฏิบัติศาสนพิธีทางพระพุทธศาสนา ของนักศึกษาจีน เอกภาษาไทย สถาบันภาษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คำสำคัญ:
การส่งเสริม, การปฏิบัติศาสนพิธี, พระพุทธศาสนา, นักศึกษาจีนบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาทัศนคติต่อการปฏิบัติศาสนพิธีทางพระพุทธศาสนาของนักศึกษาจีน เอกภาษาไทย สถาบันภาษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2) ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติ ศาสนพิธีทางพระพุทธศาสนาของนักศึกษาจีน เอกภาษาไทย สถาบันภาษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ 3) แนวทางส่งเสริมการปฏิบัติศาสนพิธีทางพระพุทธศาสนาของนักศึกษาจีน เอกภาษาไทย สถาบันภาษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ และได้กำหนดกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญซึ่งมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับโครงการสอนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ คือ ครูผู้สอนชาวไทย จำนวน 3 คน ครูต่างชาติชาวจีนผู้ดูแลนักศึกษา จำนวน 3 คน และนักศึกษาจีน จำนวน 15 คน ได้ผู้ให้ข้อมูลสำคัญซึ่งเลือกโดยวิธีเจาะจง จำนวน 21 คน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ทัศนคติต่อการปฏิบัติศาสนพิธีทางพระพุทธศาสนามีการยอมรับและปรับตัวให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมที่แตกต่าง ได้เรียนรู้และเข้าใจความสำคัญของพระพุทธศาสนาต่อสังคมไทยผ่านกระบวนการเรียนรู้ทักษะภาษาไทย 2) ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติศาสนพิธีทางพระพุทธศาสนาเกิดจากการไม่เคยปฏิบัติมาก่อน ไม่รู้และไม่เข้าใจแนวทางการปฏิบัติ รวมทั้งปัญหาทางด้านกายภาพ 3) แนวทางส่งเสริมการปฏิบัติศาสนพิธีทางพระพุทธศาสนาต้องให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายปรับหลักสูตรให้สอดคล้อง อธิบายขั้นตอนและวิธีปฏิบัติให้ชัดแจ้ง ปรับเวลาให้กระชับ รวมทั้งจัดกิจกรรมส่งเสริมทางด้านพระพุทธศาสนาอย่างสม่ำเสมอ
References
กมลทิพย์ รักเกียรติยศ และคณะ. (2560). การปรับตัวทางวัฒนธรรม การเรียนรู้ และการสื่อสารของนักศึกษาจีนในมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 36(2), 60.
กระทรวงวัฒนธรรม. (2556). คู่มือการปฏิบัติศาสนพิธีเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). ปฏิรูปการศึกษาของจีน. สืบค้นเมื่อ 27 พฤษภาคม 2562 แหล่งที่มา http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=8687.
ดวงทิพย์ เจริญรุกข์ เผื่อนโชติ และคณะ. (2557). การปรับตัวของนักศึกษาจีนที่เข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต.
ตาน หลี่. (2552). ทัศนคติเกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรมไทยของนักศึกษาต่างชาติชาวจีน: กรณีศึกษานักศึกษาจากยูนนานในมหาวิทยาลัยในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประไพพิมพ์ สุธีวสินนนท์ และคณะ. (2559). กลยุทธ์การเลือกตัวอย่างสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ. ปาริชาต. 29(2), 35.
พัชราภา เอื้ออมรวณิช. (2560). การสื่อสารภายใต้มิติความหลากหลายทางวัฒนธรรมตามแนวคิดทฤษฎีของ Geert Hofstede Communication through Multi-Cultural Dimensions of Geert Hofstede. วิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. 25(47), 228.
พระราชวิสุทธิกวี(พิจิตร ฐิตวณฺโณ). (2534). พระพุทธศาสนาในจีน. กรุงเทพมหานคร: สุทธิสารการพิมพ์.
ศักดินา บุญเปี่ยม และคณะ. (2557). การปรับตัวทางวัฒนธรรมของนักศึกษาชาวจีนในประเทศไทย: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยบูรพา. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาไทยศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
สถาบันภาษา. (2559). รายงานประจำปี 2559. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่: เชียงใหม่.
Jinghong Xu. (2558). การเรียนรู้วัฒนธรรมผ่านละครโทรทัศน์ไทยของนักศึกษาจีน: กรณีศึกษานักศึกษาจีนที่เรียนภาษาไทยในเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชานิเทศศาสตร์และสารสนเทศ. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.