แนวทางการอนุรักษ์ประเพณีปอยส่างลองในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • อาทิตย์ ภู่คำ มมร วิทยาเขตล้านนา
  • โผน นามณี มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, วิทยาเขตล้านนา
  • พระครูสมุห์ธนโชติ จิรธมฺโม มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, วิทยาเขตล้านนา

คำสำคัญ:

แนวทางการอนุรักษ์, ประเพณี, ปอยส่างลอง, เชียงใหม่

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาประเพณีปอยส่างลองในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาคุณค่าประเพณีปอยส่างลองในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 3) เพื่อเสนอแนวทางการแก้ปัญหาและการอนุรักษ์ประเพณีปอยส่างลองในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลเป็นเครื่องมือแบบสัมภาษณ์เชิงลึก โดยสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มเป้าหมาย ชุมชนป่าเป้า และชุมชนกู่เต้าพัฒนา รวม 16 รูป/คน

ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาประเพณีปอยส่างลอง การจัดประเพณีส่างลองมีเวลาในการเตรียมตัวน้อย เนื่องจากใช้เวลาช่วงปิดภาคฤดูร้อน พระวิทยากรไม่เพียงพอต่อจำนวนส่างลอง ประกอบพิธีนานเกินไป เกิดความล่าช้า เกิดเสียงรบกวนชุมชนข้างเคียง สถานที่ความคับแคบ และไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย 2) คุณค่าของประเพณีปอยส่างลอง เป็นกิจกรรมที่ขัดเกลาจิตใจส่างลองให้เป็นคนดี มีวินัย ประพฤติตนถูกต้องและเหมาะสม เป็นการอนุรักษ์ประเพณีดั้งเดิมของชาวไทใหญ่ดำรงไว้ซึ่งพิธีการบวชที่ถูกต้อง และให้เยาวชนไทใหญ่ได้ตะหนักถึงคุณค่าประเพณีปอยส่างลอง และยังช่วยส่งเสริมให้วัดเป็นที่รู้จักแก่คนทั่วไป
3) แนวทางการแก้ปัญหาและการอนุรักษ์ประเพณีปอยส่างลอง องค์กรต่างๆ ควรมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาและอนุรักษ์ มีการสัมมนาให้ความรู้ ศาสนพิธีควรมีการจัดงานบวชส่างลองแบบดั้งเดิม และควรมีการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับสถานที่การจัดงานบวชประเพณีปอยส่างลอง

References

เฉลิมชัย ดงจันทร์. (2556). ความเข้าใจแนวทางการจัดงานศาสนพิธีกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ของ ข้าราชการ กองศาสนูปถัมภ์ กรมศาสนา. กรุงเทพมหานคร: กรมการศาสนา.

ณัฐนรี รัตนสวัสดิ์. (2556). ผลกระทบของประเพณีปอยส่างลองต่อวิถีชีวิตชุมชน ในอำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่. รายงานการวิจัย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.). มหาลัยราชภัฎเชียงใหม่.

ดนัย สิทธิเจริญ. (2535). สาระทางการศึกษาในกระบวนการส่างลองของชาวไทยใหญ่ ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ธิตินัดดา มณีวรรณ์ และยุทธการ ขันชัย. (2552). ศิลปะการแสดงพื้นบ้านของกลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พระครูปลัดชินกร จริยเมธี. (2550). การเปลี่ยนแปลงความหมายและคุณค่าของปอยส่างลองในสังคมไทยใหญ่ปัจจุบัน. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พระครูศรีปริยัตยานุกิจ และคณะ. (2559). การศึกษาวิเคราะห์ยุทธศาสตร์ กลยุทธ์และปัญหาการบรรพชาอุปสมบท ขอคณะสงฆ์ภาค 7. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย.มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระไพฑูรย์ อารัมภรัตน์. (2556). การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อกิจกรรมทางพุทธศาสนา: กรณีศึกษาเขตทวี วัฒนา จังหวัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสยาม.

พระมหาหรรษา นิธิบุณยากร. (2545). วิกฤติพุทธศาสนา: ศึกษากรณีการบรรพชาเป็นสามเณรในประเทศไทย 2523 – 2543. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วิโรจน์ พรหมสุด. (2547). การบวช: กระบวนการขัดเกลาความเป็นศาสนทายาทคุณภาพ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ. (2542). ประเพณีพื้นเมือง. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทยธนาคารไทยพานิชย์.

อานันท์ กาญจนพันธ์. (2537). สถานภาพการวิจัยพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรมไทใหญ่. กรุงเทพมหานคร: มิตร นราการพิมพ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-26