ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักไตรลักษณ์กับหลักความผาสุกทางจิตวิญญาณ

ผู้แต่ง

  • บุญมี แก้วตา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • วิโรจน์ วิชัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • พระมหารังสี ฐานวุฑฺโฒ มหาวิทยาลัย มหามกุฎราช วิทยาลัย
  • พระครูศรีปริยัตยารักษ์ . มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • ประเสริฐ บุปผาสุข มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ไตรลักษณ์, ความผาสุกทางจิตวิญญาณ

บทคัดย่อ

งานวิจัยวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาหลักไตรลักษณ์ในพระพุทธศาสนา  2)  เพื่อศึกษาเรื่องความผาสุกทางจิตวิญญาณ  และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักไตรลักษณ์กับความผาสุกทางจิตวิญญาณ เป็นการศึกษาวิจัยเอกสาร

ผลการศึกษาพบว่า

1) ไตรลักษณ์ในพระพุทธศาสนา หมายถึง ลักษณะสามประการ หรือ อาการที่เป็นเครื่องกำหนดหมายให้รู้ถึงความจริงของสภาวธรรมทั้งหลาย ที่เป็นอย่างนั้นๆ คือ  (1) ความเป็นของไม่เที่ยง  (2) ความเป็นทุกข์ หรือ ความเป็นของคงทนอยู่มิได้ และ (3) ความเป็นของมิใช่ตัวตน  2) ความผาสุกทางจิตวิญญาณเป็นลักษณะภายในของบุคคลที่แสดงออกถึงความสมบูรณ์พร้อมของร่างกายและจิตใจ เป็นพลังอำนาจที่นำไปสู่การมีความหมาย  เป้าหมายและความหวังในการดำเนินชีวิต  มีกำลังใจในการเผชิญกับสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น 3) หลักไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นหลักธรรมที่มีความเกี่ยวเนื่องกันและเป็นคำสอนสากลใช้กับทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่ในโลก พระพุทธเจ้าทรงสอนไตรลักษณ์เพื่อให้มนุษย์เกิดความเข้าใจในเรื่องชีวิตของมนุษย์ว่า ชีวิต  มีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตาตามกฎของไตรลักษณ์ ความสัมพันธ์ระหว่างหลักไตรลักษณ์กับความผาสุกทางจิตวิญญาณของมนุษย์เกิดจากการที่มนุษย์มีความรู้แจ้งและเข้าใจ รวมทั้งเกิดการยอมรับว่าชีวิตมนุษย์ทุกคนล้วนตกอยู่ใต้กฎไตรลักษณ์

References

บุญสืบ อินสาร. (2555). พจนานุกรมบาลี-ไทย ธรรมบทภาค 1-4. กรุงเทพมหานคร: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต). (2540). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต). (2542). เพื่อชุมชนแห่งการศึกษาและบรรยากาศแห่งวิชาการ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิพุทธธรรม.

พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต). (2545).การศึกษากับเศรษฐกิจ ฝ่ายไหนจะรับใช้ฝ่ายไหน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ บริษัท สหธรรมิก จำกัด.

พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต). (2546). พุทธธรรม. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุจิตรา อ่อนค้อม. (2540). ปรัชญาเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ทิพยวิสุทธิ์.

Burkhardt, M.A., (1999) Spiritual : An analysis of the concept. Holistic Nursing Practice, 3 (3), 69-77.

Hungelmann, J., et al. (1987). Development of the JAREL Spiritual Well-Being Scale. Philadelphia : J.B. Lippincott.

Potter. P.A.,& Perry, A.G. (1999). Basic Nursing : A critical thinking approach and non terminally ill hospitalized adults and well adults, (4th), Philadelphia : Mosby.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-27