สื่อสังคมออนไลน์กับการเผยแผ่พระพุทธศาสนา

ผู้แต่ง

  • เมธี เชษฐ์วิสุต

คำสำคัญ:

สื่อสังคม, ออนไลน์, พระพุทธศาสนา

บทคัดย่อ

การเผยแผ่พระพุทธศาสนา มีวิธีการหลายวิธี ทั้งวิธีการพูด วิธีการทำตัวอย่างให้ดู วิธีการเขียน  แต่ไม่ว่าจะเผยแผ่ด้วยวิธีการใดๆ การเผยแพร่หลักคำสอนทางพุทธศาสนาจะเป็นพระภิกษุสงฆ์ หรือ อุบาสก อุบาสิกา   นักเผยแผ่ต้องมีพุทธวิธีในการสอนโดยเริ่มจากปรัชญาขั้นพื้นฐานอันได้แก่ กัลยาณมิตรและมีสติปัญญา ที่ ประกอบด้วยหลักของนักเผยแผ่กับผู้ฟังหรือผู้สอนกับผู้เรียน ที่มีความสัมพันธ์กันในฐานะเป็นกัลยาณมิตรเพราะในทางพระพุทธศาสนาถือว่า ผู้เผยแผ่กับผู้ฟัง หรือ ผู้สอนกับผู้เรียนนั้น ต้องประสานสัมพันธ์กัน มีความกรุณาต่อกัน ในปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ สื่อออนไลน์บนโลกอินเตอร์เน็ต เช่น คอมพิวเตอร์และโทรศัพท์เคลื่อนที่เข้ามามีอิทธิพลในการใช้ชีวิตประจำวันกับคนและสังคมโลก กล่าวได้ว่า เป็นเครื่องมือสำคัญในการเข้าถึงและเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้อย่างกว้างขวางภายใต้บริบทและแนวโน้มของประชากรโลกที่จะใช้ชีวิตในโลกออนไลน์ ดังนั้นควรเล็งเห็นถึงความสำคัญเรื่องการเผยแพร่หลักคำสอนพุทธศาสนาผ่านสื่อสารออนไลน์ต้องเป็นไปอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม รวมทั้งไม่เป็นการบิดเบือนพระธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนาตามพระไตรปิฎกเพื่อดำรงไว้ซึ่งพระพุทธศาสนาสืบต่อไป

References

ดาณุภา ไชพรธรรม. (2556). เทคโนโลยีดาบสองคม. กรุงเทพมหานคร: มายิก สำนักพิมพ์.

ทศพนธ์  นรทัศน์. (19 กันยายน 2557). เทคโนโลยีสารสนเทศกับผลกระทบด้านพุทธศาสนา. สืบค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2562. แหล่งที่มา : http://www.phd.mbu.ac.th/index.php/2014-08-28-08-57-4/99-2014-09-19-23-56-30.

พระเทพปริยัติสุธี (วรวิทย์ คงฺคปญฺโญ). (2545). คู่มือพระสังฆาธิการว่าด้วยเรื่องการคณะสงฆ์และการพระศาสนา. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระไพศาล วิสาโล. (2559). เทคโนโลยีในทัศนะของพุทธศาสนา. นิตยสาร CHIP. 10(3). 

พระมหาสมจินต์ สมฺมาปญฺโญ. (2547). วิพากษ์แนวคิดพระพุทธศาสนาสำหรับโลกหลังยุคใหม่. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ศรีศักดิ์ จามรมาน. (2551). อินเทอร์เน็ตนักล่าอาณานิคมโลก. กรุงเทพมหานคร: ฐานบุคส์.

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาวโรสส. (2540). นวโกวาท(ฉบับประชาชน). กรุงเทพมหานคร: มหามกุฎราชวิทยาลัย.

สำนักงานประชาสัมพันธ์. (2561). กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ด้วยการใช้เฟซบุ๊ก (Facebook). กรุงเทพมหานคร. สำนักงานประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.

อรวรรณ วงศ์แก้วโพธิ์ทอง. Social Media เครื่องมือเพิ่มศักยภาพทางธุรกิจ. วารสารนักบริหารมหาวิทยาลัยกรุงเทพ. (30)4, 63-69.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-29