การจัดการวัฒนธรรมชุมชนตามหลักธรรมาภิบาลเชิงพุทธ
คำสำคัญ:
วัฒนธรรมชุมชน, ธรรมาภิบาล, องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษากระบวนการจัดการวัฒนธรรมชุมชน 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของวัฒนธรรมชุมชนกับหลักธรรมาภิบาลเชิงพุทธ และ 3) เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการวัฒนธรรมชุมชนกับหลักธรรมาภิบาลเชิงพุทธในเขตองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ พื้นที่เป้าหมาย ได้แก่ ชุมชน 3 แห่ง ของจังหวัดเชียงใหม่
ผลการวิจัย พบว่า 1) กระบวนการจัดการวัฒนธรรมชุมชนของชาวล้านนาสามารถศึกษาได้จากระบบการจัดเครือข่ายทางสังคมของระบบหัววัดในงานปอยหลวง 2) ความสัมพันธ์ของวัฒนธรรมชุมชนกับหลักธรรมาภิบาลเชิงพุทธมีความสอดคล้องกันในหลายประเด็น คือ หลักนิติธรรม ได้แก่ จารีตประเพณี หลักคุณธรรม ได้แก่ คติความเชื่อในพระพุทธศาสนาผสมผสานคติความเชื่อผีหรืออำนาจเหนือธรรมชาติ หลักการให้ความร่วมมือ ได้แก่ ระบบเครือข่ายหัววัด ศรัทธาวัด เครือข่ายเครือญาติ มิตรสหาย และความเป็นคนบ้านเดียวกัน 3) รูปแบบการจัดการวัฒนธรรมชุมชนกับหลักธรรมาภิบาลเชิงพุทธ พบว่า ในงานบุญล้านนา ชาวบ้านในชุมชนให้ความร่วมมือกันแบบการเอามื้อเอาแรงตามหลักสังคหวัตถุ 4 ตลอดถึงการยึดหลักความรับผิดชอบร่วมกันตามหลักอปริหานิยธรรม 7 นอกจากนั้น ชาวบ้านในชุมชนยังมีวิถีชีวิตแบบพอเพียงตามหลักสันโดษ 3
References
กิรพัฒน์ เขียนทองกุล. (2559). การกระจายอำนาจและการปกครองท้องถิ่นไทยช่วงหลังรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 – 2559: การเมืองไทยที่ไร้เสถียรภาพกับความไม่เชื่อใจในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 1(2): 62.
ฉลาดชาย รมิตานนท์. (2524). ผีเจานาย. เชียงใหม่: โครงการตำรามหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ราเชนทร์ นพณัฐวงศกร และคณะ. (2017). ปัญหาและอุปสรรคในการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 2. 2(1): 513.
ปธาน สุวรรณมงคล. (2554). การกระจายอำนาจ: แนวคิดและประสบการณ์จากเอเชีย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ. (2560). “Animism”. ใน คำศัพท์ทางมานุษยวิทยา. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). [ออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.sac.or.th/databases/anthropology-concepts/glossary/9 [2 กันยายน 2560].
นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2554). “วัฒนธรรมทางการเมืองไทย”. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 12(2): 52.
วีระศักดิ์ เครือเทพ และคณะ. (2557). 15 ปีการกระจายอำนาจของไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วุฒิสาร ตันไชย. (2557). การกระจายอำนาจและประชาธิปไตยในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า.
สุนทร คำยอด. (2559). การสร้าง “ความเป็นล้านนา” ในวรรณกรรมของนักเขียนภาคเหนือ. วารสารธรรมศาสตร์. 11(1): 43 – 60.
Chartchai Na Chiangmai. (1983). Para political Behavior of Northern Thai Villagers: An Application of Social Network Concepts. Doctor of Philosophy (Political Science). The University of Wisconsin Madison.
Konrad Kingshill. (1991). Ku Daeng – Thirty Years Later A Village Study in Northern Thailand 1954 – 1984. Illinois: Northern Illinois University.