การเรียนรู้หลักพุทธธรรมในสัตตมหาสถานผ่านการผลิตสื่อ

ผู้แต่ง

  • พลสรรค์ สิริเดชนนท์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • พระครูประวิตรวรานุยุต . มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • พระครูธรรมธรชัยวิชิต ชยาภินนฺโท มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • ณรงศักดิ์ ลุนสำโรง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การเรียนรู้, หลักพุทธธรรมในสัตตมหาสถาน, การผลิตสื่อวีดีทัศน์

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาความเป็นมาและความสำคัญของสัตตมหาสถาน 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมในสัตตมหาสถานและการผลิตสื่อวีดีทัศน์แบบมีส่วนร่วมของเยาวชน 3) เพื่อวิเคราะห์การเรียนรู้หลักพุทธธรรมในสัตตมหาสถานผ่านการผลิตสื่อแบบมีส่วนร่วมของเยาวชน เป็นงานเชิงคุณภาพ โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน ใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัย คือ แบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณา

ผลการวิจัยพบว่า 1) ความเป็นมาและความสำคัญของสัตตมหาสถาน เป็นเรื่องหลังการตรัสรู้ 7 สัปดาห์ เป็นสถานที่ยิ่งใหญ่ 7 แห่ง 2) หลักพุทธธรรมในสัตตมหาสถานและการผลิตสื่อวีดีทัศน์แบบมีส่วนร่วมของเยาวชน จำแนกตามสถานที่แต่ละแห่งดังนี้   โพธิบัลลังก์ อริยสัจ 4, อนิมิสเจดีย์  กตัญญูกตเวที, รัตนจงกรมเจดีย์ สติปัฏฐาน 4, รัตนฆรเจดีย์ พระอภิธรรม,  อชปาลนิโครธ บัว 4 เหล่า,  สระมุจลินท์  ความสงัด ความสุข นิพพาน,  ราชายตนะ   ทาน ศีล ภาวนา  และ 3) วิเคราะห์การเรียนรู้หลักพุทธธรรมในสัตตมหาสถานผ่านการผลิตสื่อแบบมีส่วนร่วมของเยาวชน  (1) ด้านความคิดสร้างสรรค์ (2) ด้านเนื้อหา (3) ด้านเทคนิคการเล่าเรื่อง (4) ด้านการใช้ภาษาและดนตรี (5) ด้านคุณภาพในการผลิต สรุป 5 ด้าน ค่าเฉลี่ยรวม 3.78 อยู่ในระดับมาก เป็นเครื่องยืนยันว่า การเรียนรู้หลักพุทธธรรมในสัตตมหาสถานผ่านการผลิตสื่อแบบมีส่วนร่วมของเยาวชน เป็นเทคนิคการสร้างความรู้ในเชิงลึกได้จริง

References

เชษฐ์ ติงสัญชลี. (2555). สัตตมหาสถาน : พุทธประวัติตอนเสวยวิมตุติสุขกับศิลปกรรมอินเดียและเอเชียอาคเนย์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์เมืองโบราณ.

ฐิติรัตน์ วสิษฐ์พลพงศ์. (2559). ผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้อย่างมีความสุขเชิงพุทธบูรณาการในการสอนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ธนสาร บัลลังก์ปัทมา. (2551). บทบาทประชาชนในการมีส่วนร่วมจัดการศึกษา. The City Journal. 4(85), 30.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

รายงานประจำปี 2552 (2552). สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

วลัยลักษณ์ ทรงศิริ. (2540). สัมมนาที่วัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่ ทิศทางการปฏิสังขรณ์และอนุรักษ์พระเจดีย์หลวง. เมืองโบราณ 23(1), 156-158.

วิชาภรณ์ ชำนิกำจร . (2556). ศึกษาเพื่อออกแบบผังบริเวณสัตตมหาสถาน และสังเวชนียสถาน 4 ตำบล ณ วัดวังปลาโด อำเภอบรบือ มหาสารคาร. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ศรีไพร จันทร์เขียว. (2559). การจัดการเรียนรู้พระพุทธศาสนาโดยพุทธวิธีบูรณาการ. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมโชติ อ๋องสกุล. (2562). ชุมชนรอบวัดในเชียงใหม่:ประวัติศาสตร์ชุมชน. เชียงใหม่: โรงพิมพ์ศูนย์ล้านนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สมโชติ อ๋องสกุล. (2537). การอนุรักษ์เมืองโบราณเชียงใหม่และเชียงทอง. กรุงเทพมหานคร: เมืองโบราณ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-29