พุทธจริยธรรมในการประกอบการธุรกิจประกันชีวิต
คำสำคัญ:
พระพุทธศาสนา, จริยธรรม; ธุรกิจประกันชีวิตบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาบริบทและสภาพปัญหาทางจริยธรรมของธุรกิจประกันชีวิต 2) เพื่อศึกษาพุทธจริยธรรมที่สัมพันธ์กับธุรกิจประกันชีวิต 3) เพื่อวิเคราะห์แนวทางการประยุกต์พุทธจริยธรรมในการประกอบธุรกิจประกันชีวิต เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 12 ท่าน และการจัดสนทนากลุ่มย่อย จำนวน 7 ท่าน โดยการคัดเลือกแบบเจาะจง เฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจประกันชีวิตในจังหวัดเชียงใหม่ เครื่องมือที่ใช้คือแบบสัมภาษณ์เชิงลึก นำข้อมูลมาวิเคราะห์และสังเคราะห์และเขียนบรรยายเชิงพรรณนา
ผลการวิจัย พบว่า 1) บริบทและสภาพปัญหาทางจริยธรรมของธุรกิจประกันชีวิต การประกันชีวิตได้เปิดดำเนินธุรกิจในสมัยรัชกาลที่ 5 ปัญหาจริยธรรมการทำประกันชีวิตในเมืองไทย คือ ประชาชนส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำประกันชีวิต สังคมปัจจุบันขาดความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 2) หลักพุทธจริยธรรมที่สัมพันธ์กับธุรกิจประกันชีวิต ประกอบด้วย ปาปณิกธรรม 3, เบญจศีลและเบญจธรรม, สุจริต3 และ ฆราวาสธรรม 4 สำหรับ 3) แนวทางการประยุกต์พุทธจริยธรรมในการประกอบธุรกิจประกันชีวิต ที่เป็นหลักสำคัญได้แก่ การนำฆราวาสธรรม 4 คือ (1) สัจจะ มีสัจจะต่อกัน จัดอบรมบรรยายธรรม (2) ทมะ การฝึกฝน การสนับสนุนให้ผู้บริหารและพนักงานเข้าวัดปฏิบัติธรรม (3) ขันติ ความอดทน จัดทำสื่อการเรียนรู้ชีวิตงดงามด้วยขันติธรรม (4) จาคะ ความเสียสละ การจัดทำบุญตักบาตร มาเป็นหลักในธุรกิจการประกอบธุรกิจการประกันชีวิต ตามแนวทางพุทธจริยธรรม
References
ณัฎฐ์ภูอิสร์ ศรีเพชร. (2558). แนวทางการสร้างความไว้วางใจของลูกค้าในธุรกิจประกันชีวิตในประเทศไทย.วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี. 3(2), 86.
ธราพงศ์ ลิ้มสุทธิวันภูมิ. (2559). การศึกษาช่องทางการขายหลักของบริษัทประกันชีวิตผ่านตัวแทนประกันชีวิต. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 11(2), 63.
นวลพรรณ ล่ำซำ. (2559). ความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทประกันภัยในสังคมประชาธิปไตย. กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยรัฐธรรมนูญ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ.
ผู้จัดการออนไลน์. (21 ธันวาคม 2561). คปภ.เผย 5 ปัญหาใหญ่ที่บริษัทประกันโดนร้องเรียนมากที่สุดในปี 58. สืบค้นเมื่อ 21 ธันวาคม 2561. แหล่งที่มา https://mgronline.com/mutualfund/detail/9590000030858.
พระครูปลัดสุวัฒน์ เมธาคุณ. (2555). ศึกษาการบูรณาการหลักพุทธจริยศาสตร์ในการดำเนินชีวิตของคนไทยในสังคมปัจจุบัน. วิทยานิพนธ์สาขาวิชาพุทธศาสนมหาบัณฑิต. บัณฑิตศึกษา: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2552). การพัฒนาที่ยั่งยืน. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: สหธรรมิก.
พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตโต). (2549). พุทธวิธีบริหาร. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วารุณี อินวันนา. (9 มกราคม 2559). ธุรกิจประกันปี 59 ความเสี่ยงยังรุมเร้า. สืบค้นเมื่อ 21 ธันวาคม 2561, https://www.posttoday.com/finance/insurance/408302.
วรรณเพ็ญ มูลสุวรรณ. (2559). การขาดจริยธรรมในการดำเนินงานขององค์การธุรกิจ. วารสารรัชต์ภาคย์. 10(19), 23 - 34.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2549). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สมาคมประกันชีวิตไทย. (2558). รายงานสถิติธุรกิจประกันชีวิต ประจำปี 2553-2557. กรุงเทพมหานคร: สมาคมประกันชีวิตไทย.
โอฬาร จันทร์คำ. (2556). “จรรยาบรรณและแนวทางปฏิบัติที่ดีในการให้บริการ พร้อมทั้งกรณีศึกษา” คู่มือปฏิบัติงานสำหรับนายหน้าประกันชีวิต. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ).